เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
Miss Chalanda Khamjun Student ID 5411203044 Junior Field of Early Childhood Education Faculty of Education Chandrakasem Rajabhat University.

สัปดาห์ที่ 7

วันที่ 24 กรกฎาคม 2556

อาจารย์ทบทวนความรู้เดิมจากเนื้อหากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ พร้อมยกตัวอย่างประกอบในแต่ละขั้นตอน  ดังนี้
            วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เป็นขั้นตอนการทำงานอย่างเป็นระบบที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
            1. ขั้นสังเกตเพื่อระบุปัญหา คือ การระบุปัญหาหรือสิ่งที่ต้องการศึกษาและกำหนด ขอบเขตของปัญหา
            2. ขั้นตั้งสมมติฐาน คือ การคิดคำตอบที่คาดหวังว่าควรจะเป็นหรือการคาดเดาคำตอบที่จะได้รับ
            3. ขั้นการรวบรวมข้อมูล คือ การรวบรวมข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตรวจสอบ สมมติฐานที่ตั้งไว้ว่าถูกหรือผิดโดยมีหลักฐานยืนยัน อาจทำได้โดยการสังเกตหรือการทดลอง
            4. ขั้นสรุปผล คือ การสรุปว่าจะปฏิเสธหรือยอมรับสมมติฐานตามหลักเหตุและผลเพื่อให้ได้คำตอบของปัญหา
            ทักษะพื้นฐานที่ต้องนำมาใช้ในกระบวนการ คือ การสังเกต การจำแนกและเปรียบเทียบ การวัด การสื่อสาร การทดลอง การสรุปและการนำไปใช้   ดังนี้
            การสังเกต ครูต้องสอนให้เด็กรู้จักสังเกตใช้เทคนิคการสังเกตเป็น เด็กต้องได้รับการสอนให้รู้จักสังเกตปรากฏการณ์หรือการกระทำอย่างระมัดระวังและถี่ถ้วน จากการสังเกตนอกจากการใช้ ตาดู เด็กอาจต้องใช้หูฟัง จมูกดมกลิ่น ลิ้นชิมรส กายสัมผัสหรือรับความรู้สึก หรือใช้ทุกอย่างร่วมกัน
            การจำแนกเปรียบเทียบ การจำแนกเป็นทักษะพื้นฐานที่ใช้ในการจัดระเบียบข้อมูล ซึ่งในการจำแนกนี้เด็กต้องสามารถเปรียบเทียบและบอกข้อแตกต่างของคุณสมบัติ ถ้าเด็กเล็กมาก เด็กอาจจำแนกสีหรือจำแนกรูปร่างได้ การจำแนกหรือเปรียบเทียบสำหรับเด็กปฐมวัย ต้องใช้คุณสมบัติหยาบ ๆ เห็นรูปธรรมเด็กจึงจะทำได้
            การวัด การวัดเป็นกระบวนการรวบรวมข้อมูลและตัดสินเพื่อบอกว่าขนาด ปริมาณของสิ่งที่เห็นคืออะไร เด็กปฐมวัยจึงใช้การวัดเป็นการเปรียบเทียบเชิงปริมาณโดยสามารถใช้เครื่องมือวัดอย่างหยาบได้ สามารถบอกมาก-น้อยกว่ากันได้
            การสื่อสาร ทักษะการสื่อสารจำเป็นมากในกระบวนการวิทยาศาสตร์ เพราะการสื่อสารเป็นทางบอกว่าเด็กได้ สังเกต จำแนก เปรียบเทียบ หรือวัด เป็นหรือไม่ เข้าใจข้อมูลหรือสิ่งที่ศึกษาในระดับใด ด้วยการกระตุ้นให้เด็กแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน อภิปรายข้อค้นพบ บอก และบันทึกสิ่งที่พบ
            การทดลอง เด็กปฐมวัยเป็นนักทดลองมาโดยกำเนิด เช่น การรื้อค้น การกระแทก การทุบ การโยนสิ่งของหรือการเล่น จากการเล่นเป็นการเรียนรู้ ซึ่งมักเป็นการทดลองแบบลองผิดลองถูก แต่การทดลองทางวิทยาศาสตร์จะถูกจัดระเบียบมากขึ้น มีการควบคุมให้เด็กทำอย่างมีระเบียบวิธี มีการสังเกตอย่างมีความหมาย เช่น การทดลองการกระจายของหยดสีในน้ำที่มีความเข้มข้นไม่เท่ากัน เด็กจะสังเกตเห็นสีสด สีจาง ต่างกัน
            การสรุปและการนำไปใช้ เด็กปฐมวัยมีความสามารถสรุปได้เฉพาะข้อมูลเชิงประจักษ์ เด็กสามารถบอกว่าอะไรเกิดขึ้น สาเหตุใด มีผลอย่างไร แต่เป็นไปตามสายตาที่เห็นเป็นรูปธรรมเท่านั้น ซึ่งการทดลองวิทยาศาสตร์ ทำให้เด็กเห็นจริงกับตา สัมผัสกับมือ เด็กจะบอกได้ว่ามีอะไรเกิดขึ้น การได้ฝึกทักษะอย่างเป็นกระบวนการจะทำให้เด็กสามารถบอกได้ว่าจะนำไปใช้ทำอะไร หรือนำไปใช้แก้ปัญหาอย่างไรได้ด้วย

            สมองกับวิทยาศาสตร์
            1. ตีข้อมูลที่ได้รับเพื่อทำความเข้าใจ
            2. หาเหตุผลเชื่อมโยงสิ่งที่คิดขึ้นเพื่อสืบค้นความจริง
            3. ประเมินคุณค่า
            4. จำแนกองค์ประกอบเพื่อให้เห็นภาพรวม
            องค์ประกอบของการคิดทางวิทยาศาสตร์
            1. สิ่งที่กำหนด ---> สังเกต / จำแนก / วัด /คำนวณ
            2. หลักการหรือกฎเกณฑ์ ---> เกณฑ์การจำแนก
            3. การค้นหาความจริงหรือความสำคัญ
            เทคนิคการคิดวิเคราะห์ 5 W 1 H
            เทคนิคการคิดวิเคราะห์ การคิดวิเคราะห์เป็นการคิดโดยใช้สมองซีกซ้ายเป็นหลัก เป็นการคิดเชิงลึก คิดอย่างละเอียด จากเหตุไปสู่ผล ตลอดจนการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ในเชิงเหตุและผล
            ประโยชน์ของการคิดวิเคราะห์
            1. ช่วยให้เรารู้ข้อเท็จจริง รู้เหตุผลเบื้องหลังของสิ่งที่เกิดขึ้น เข้าใจความเป็นมาเป็นไปของเหตุการณ์ต่างๆ
            2. เป็นฐานความรู้ในการนำไปใช้ในการตัดสินใจแก้ปัญหา
            3. ช่วยให้เราหาเหตุผลที่สมเหตุสมผลให้กับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง 4. ช่วยประมาณความน่าจะเป็น  

องค์ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
ภาพ : เนื้อหาทางวิทยาศาสตร์

อาจารย์อธิบายการเรียนการสอนแบบโครงการ (Project Approach)
Project Approach การสอนแบบโครงการ เทคนิคการเรียนการสอนที่จะทำให้เด็กๆ สามารถเรียนสิ่งที่ตัวเองสนใจได้อย่างลุ่มลึกและถ่องแท้
ความหมายของการสอนแบบโครงการ
          การสอนแบบโครงการคือ วิธีการสอนรูปแบบหนึ่งที่ให้โอกาสเด็กเรียนรู้โดยการสืบค้นหาข้อมูลอย่างลึกในหัวเรื่องเฉพาะที่เด็กสนใจ ควรค่าแก่การเรียนรู้  หัวเรื่องที่ถูกเลือกควรมีความหมายต่อชีวิตต่อตัวเด็ก และครูสามารถบูรณาการเนื้อหา เช่น คณิตศาสตร์ การอ่านและวิทยาศาสตร์ ฯลฯ ในการทำโครงการของเด็กได้ด้วย ทั้งนี้ ลักษณะเด่นของโครงการคือการค้นหาคำตอบจากคำถามที่เกี่ยวกับหัวเรื่อง คำถามนี้อาจมากจากเด็ก จากครูหรือครูกับเด็กร่วมกัน เด็กมีโอกาสที่จะวางแผนสืบค้นด้วยตนเอง โดยมีครูช่วยเหลือการทำโครงการของเด็กจะรวมการวางแผนศึกษาสถานที่ต่างๆและหรือสัมภาษณ์เด็ก แก้ปัญหา แลกเปลี่ยนสิ่งที่เด็กเรียนรู้กับบุคคลอื่น (Katz, 1994 ;Helm and Katz,2001)
ความแตกต่างระหว่างการสอนแบบหน่วยกับการสอนแบบโครงการ มีดังนี้
การสอนแบบหน่วย
การสอนแบบโครงการ
1.ระยะเวลาการเรียนรู้แบบหน่วยการสอนของเด็กจะสั้นประมาณ 1 – 2 อาทิตย์


2.หัวเรื่องของหน่วยการสอนเกิดจากหลักสูตรและครูเด็กอาจสนใจหรือไม่สนใจก็ได้


3.ครูมีการวางแผนล่วงหน้า นำเสนอหัวเรื่องออกแบบและเตรียมประสบการณ์การเรียนรู้
4.ครูกำหนดจุดประสงค์บนพื้นฐานของเป้าหมายที่หลักสูตรกำหนด อาจจัดให้มีหรือไม่มีประสบการณ์การสืบค้น



5.ความรู้ที่เด็กได้เกิดจากการวางแผนการจัดประสบการณ์ของครู แหล่งเรียนรู้ต่างๆ ถูกนำไปใช้ในห้องเรียน
6. แหล่งข้อมูลต่างๆ ถูกกำหนดโดยครูแต่เด็กอาจมีส่วนนำแหล่งข้อมูลนั้นๆมาได้ด้วย

7.การออกภาคสนามอาจมีหรือไม่มี ถ้ามีมักจะเกิดในเวลาใกล้สิ้นสุดหน่วยการสอน




8.ครูจะสอนหัวเรื่องต่างๆ ในช่วงเวลาที่กำหนดให้แต่ละวัน และอาจสอดแทรกการ บูรณาการเนื้อหาต่างๆ เข้าด้วยกัน

9.ครูเป็นผู้วางแผนกิจกรรมต่างๆ และให้เรียนเฉพาะแนวคิดที่กำหนด


10.การนำเสนอจะเชื่อมโยงกับกิจกรรมที่กำหนดไว้โดยเฉพาะ เช่น การวาดเพื่อแสดงการสังเกตในการทดลองวิทยาศาสตร์ การเขียนแผนที่ การเขียนภาพ และจะไม่มีการนำเสนอซ้ำ
1.ระยะเวลาของโครงการขึ้นอยู่กับความก้าวหน้าของโครงการ ปกติใช้เวลาหลายสัปดาห์บางโครงการใช้เวลาเป็นเดือน
2.หัวเรื่องของโครงการเกิดจากการตกลงระหว่างเด็กกับครุ พร้อมกับบูรณาการเป้าหมายของหลักสูตร เกณฑ์การเลือกหัวเรื่องขึ้นอยู่กับความสนใจของเด็กมากที่สุด
3.ครูสังเกตการสืบค้นของเด็ก ใช้ความสนใจของเด็กเป็นเครื่องตัดสินการดำเนินโครงการ
4.ครูทำใยแมงมุม Web ประเมินความรู้เดิมของเด็กแล้วจึงตระเตรียมโครงการให้เด็กเรียนรู้สิ่งที่เด็กไม่ทราบ โดยบูรณาการจุดประสงค์ของหลักสูตรเข้าไปด้วยขณะที่โครงการกำลังดำเนินอยู่ และต้องให้เด็กได้สืบค้นอย่างสมํ่าเสมอ
5.ความรู้ที่เด็กได้รับเกิดจากการสืบค้นหาคำตอบจากคำถาม เด็กมีส่วนร่วมตัดสินใจทำกิจกรรมร่วม ในเหตุการณ์ต่างๆ
6. แหล่งข้อมูลต่างๆ ถูกนำมาโดยเด็ก ครูและผู้เชี่ยวชาญที่มาเยี่ยมเยียนห้องเรียนหรือจากการออกภาคสนาม
7.การออกภาคสนามเป็นกระบวนการที่สำคัญของการสอนแบบโครงการแต่ละโครงการเด็กอาจไปสืบค้นข้อมูลในที่ต่างๆกัน และการออกภาคสนามจะปรากฏในช่วงต้นๆ ของการทำโครงการ
8.โครงการจะสอดแทรกในช่วงวันที่เด็กทำกิจกรรมตามปกติในชั้นเรียน และเชื่อมโยงให้เกี่ยวข้องกับหลักสูตรและทักษะต่างๆได้
9.กิจกรรมต่างๆ จะเน้นการสังเกตสืบค้นหาคำตอบจากคำถาม การใช้แหล่งข้อมูลต่างๆ ครูจะช่วยบูรณาการแนวคิดระหว่างการอภิปรายและการสรุป
10.การนำเสนอ (เช่น การวาดภาพ การเขียน การสร้าง การก่อสร้าง ฯลฯ ) ท้าทายเด็กให้บูรณาการแนวคิดต่างๆ เข้าด้วยกัน ข้อมูลที่นำเสนอคือสิ่งที่เด็กเรียนรู้ความเข้าใจทักษะที่เกิดขึ้น ซึ่งแสดงความก้าวหน้าของโครงการ
จากการเปรียบเทียบการสอนทั้งสองรูปแบบจะพบว่า การสอนแบบโครงการนั้นเด็กมีส่วนริเริ่ม ตัดสินใจ สืบค้น เรียนรู้ประสบการณ์ด้วยตนเองมากกว่าการสอนแบบหน่วยที่ครูเป็นผู้วางแผนให้ อย่างไรก็ตามเราจะพบว่ามีครูปฐมวัยที่นำลักษณะบางประการของกระบวนการทำโครงการ (เช่น การสร้าง การวาดจากการสังเกต และการจัดทำข้อมูลการเรียนรู้ ฯลฯ) ไปใช้ในรูปแบบการจัดการเรียนการสอนอื่นๆ อาทิ การสอนแบบหน่วย ซึ่งทำให้การสอนแบบหน่วยมีส่วนคล้ายกับการสอนแบบโครงการ
ภาพ : โครงสร้างของการปฏิบัติโครงการ
ประโยชน์ที่เด็กได้เรียนรู้จากการทำโครงการ
1. ช่วยให้เด็กมีโอกาสที่จะประยุกต์ใช้ทักษะที่มีอยู่ และเพิ่มความชำนาญในทักษะนั้นยิ่งขึ้น
2. แสดงให้เห็นถึงความสามารถและความถนัดของเด็ก
3. แสดงให้เห็นแรงจูงใจภายใน และความสนใจที่เกิดจากตัวเด็กในงานและกิจกรรมที่ทำ
4.ส่งเสริมให้เด็กรู้จักตัดสินใจว่าควรทำอะไร และผู้ใหญ่ยอมรับในความต้องการของเด็กโดยที่เด็กมีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีครูเป็นผู้ให้คำแนะนำ และเด็กเป็นผู้ตัดสินใจลงมือทำด้วยตัวเด็กเอง
ภาพ : ระยะการทำโครงการ
บทสรุป
          การสอนแบบโครงการ เป็นการสอนวิธีหนึ่งในหลายๆวิธีที่มีอยู่ ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ช่วยบูรณาการความรู้ ทักษะ และนำเสนออย่างเป็นทางการในห้องเรียน เด็กได้ประยุกต์และใช้สิ่งที่ตนเรียนรู้ แก้ปัญหา และเปลี่ยนสิ่งที่ทราบ พัฒนาทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นและท้าทายให้เด็กคิด เป็นการสนับสนุนพัฒนาการเด็กทางด้านสมอง เด็กมักจะมีคำถามของตนเองและสนใจที่จะเรียนรู้ใช้แหล่งข้อมูลต่างๆ รวมทั้งตัวครูในการหาคำตอบ ครูควรจะรับฟังสิ่งที่เด็กพูดและสิ่งที่เด็กถามอย่างจริงใจ ผลสำเร็จของการทำโครงการจึงขึ้นอยู่กับประสบการณ์เดิม สิ่งแวดล้อม ความสนใจและความอยากรู้อยากเห็นของเด็กเป็นอย่างมาก การสอนแบบโครงการน่าจะเป็นหนทางหนึ่งสำหรับครูที่จะสนับสนุนให้เด็กได้เรียนรู้อย่างกระตือรือร้นอย่างมีความหมายต่อเด็ก และนำครูไปสู่การสอนที่มีประสิทธิภาพได้ทางหนึ่ง

อ้างอิงจาก : โทรทัศน์ครู 
Photobucket - Video and Image Hosting

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น