วันที่ 17 กรกฎาคม 2556
ของเล่นวิทยาศาสตร์ : หลอดเลี้ยงลูกบอล
1. หลอดกาแฟ
2. ฟอยล์อลูมิเนียม
3. กรรไกร
วิธีการทำ
4. ลองเป่าปลายหลอดอีกด้านที่ไม่ได้ตัดเพื่อตรวจสอบว่าลูกบอลลอยขึ้นไหม
หมายเหตุ นอกจากลูกบอลฟอยล์อลูมิเนียมแล้ว เราสามารถใช้ลูกอะไรกลมๆ
ที่ไม่หนักเกินไป เช่น ลูกกระสุน BB หรือพลาสติกกลมๆ ก็ได้
วิธีการเล่น
นำลูกบอลมาวางไว้บนถ้วยที่ทำจากการตัดปลายหลอดออกเป็นแฉกๆ
แล้วเป่าเลี้ยงลูกบอลในอากาศให้อยู่ได้นานๆ
การทำงานของหลอดเลี้ยงลูกบอล คือ ความสัมพันธ์ระหว่างความดันและความเร็วของอากาศ
ธรรมชาติของอากาศก็คือที่ใดที่อากาศไหลเร็ว ความดันอากาศแถวนั้นจะน้อย
ดังนั้นถ้าบริเวณอื่นที่อยู่รอบๆ มีความดันอากาศมากกว่า
ก็จะมีลมวิ่งจากที่ความดันมากเข้าหาที่ความดันน้อยกว่า เรียกว่าหลักการของเบอร์นูลลี
ความรู้ที่ได้จากการทดลองหลอดเลี้ยงลูกบอล
เมื่อเราเป่าลมเข้าในหลอด
แรงลมก็จะผลักให้ลูกบอลลอยขึ้น ลมที่โดนด้านล่างของลูกบอลก็จะไหลไปด้านข้างๆ ขึ้นไปข้างบน
ในที่สุดลมเหล่านี้วิ่งเร็วกว่าอากาศที่อยู่ห่างจากลูกบอล ความดันข้างๆ ใกล้ๆ ลูกบอลจึงต่ำกว่าความดันที่ห่างออกไปข้างๆ
จึงมีแรงผลักรอบๆ ให้ลูกบอลอยู่บริเวณที่มีลมเป่าขึ้นเสมอ เราจึงสามารถ
"เลี้ยง" ลูกบอลอยู่ได้นานๆ
2. สีผสมอาหาร 2-3 สี
3. น้ำยาล้างจาน
4. จานก้นลึก
5. ที่หยดสีหรือคัทตอลบัท
2. หยดสีผสมอาหารลงไปตรงกลางจาน สีละ 1-2 หยด
โดยปกติแล้วนมก็เป็นของเหลวเหมือนกับน้ำครับ
เพียงแต่ว่าในนมจะมี เกลือแร่ วิตามิน โปรตีน
แล้วก็หยดไขมันที่กระจายตัวอยู่เต็มไปหมด แล้วน้ำยาล้างก็นี่เองก็ไปทำให้โมเลกุลของไขมันในนมเปลี่ยนรูปร่างไป แรงยึดเหนี่ยวของโมเลกุลไขมันถูกทำลายส่งผลให้โครงสร้างแรงยึดเหนี่ยวบริเวณใกล้เคียงถูกทำลายด้วย
หยดสีจึงเคลื่อนที่ออกจากกันด้วยนั่นเอง
หลักการทางวิทยาศาสตร์
การทดลองเกี่ยวกับแรงตึงผิวน้ำยาล้างจานทำให้แรงตึงผิวลดลง นมที่อยู่ใกล้น้ำยาล้างจานจึงแตกกระจายและนมจากส่วนอื่นก็ไหลมาแทนที่ (กลายเป็น"กระแสนม") และวิ่งชนสี กลายเป็นลวดลายต่างๆ ตอนแรกลักษณะของสีก็เป็นหยดๆ ไม่มีการกระจายตัว เพราะว่านมมีแรงตึงผิวที่พยายามจะยึดผิวหน้าของน้ำนมไว้ (ซึ่งแรงตึงผิวนี้เป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของของเหลว) แต่เมื่อเราหยดน้ำยาล้างจานซึ่งมีสารลดแรงตึงผิว ผสมลงน้ำนม ทำให้สีสามารถกระจายตัวออกไปในน้ำนม
การทดลองเกี่ยวกับแรงตึงผิวน้ำยาล้างจานทำให้แรงตึงผิวลดลง นมที่อยู่ใกล้น้ำยาล้างจานจึงแตกกระจายและนมจากส่วนอื่นก็ไหลมาแทนที่ (กลายเป็น"กระแสนม") และวิ่งชนสี กลายเป็นลวดลายต่างๆ ตอนแรกลักษณะของสีก็เป็นหยดๆ ไม่มีการกระจายตัว เพราะว่านมมีแรงตึงผิวที่พยายามจะยึดผิวหน้าของน้ำนมไว้ (ซึ่งแรงตึงผิวนี้เป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของของเหลว) แต่เมื่อเราหยดน้ำยาล้างจานซึ่งมีสารลดแรงตึงผิว ผสมลงน้ำนม ทำให้สีสามารถกระจายตัวออกไปในน้ำนม
ประโยชน์ที่เด็กได้รับ
เด็กๆ ตื่นเต้นและอยากที่จะออกมาเป็นตัวแทนในการทำการทดลอง
การที่เด็กได้ทดลองวิทยาศาสตร์เด็กจะมีความตื่นเต้นว่าจะเกิดอะไรขึ้นและสนุกสนานเพลิดเพลิน ทำให้เด็กเกิดปฎิสัมพันธ์ระหว่างครูและเพื่อน
รู้จักการรอคอย กล้าแสดงออก
เด็กมีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น
อ้างอิงจาก >>> ดูสีเต้นระบำ
1. แก้ว (อาจเป็นแก้วกระดาษหรือแก้วพลาสติก)
2. เชือกว่าวยาว 2 ฟุต
3. ฟองน้ำอเนกประสงค์
ขนาด 2 x 2 เซนติเมตร
4. เศษไม้ขนาด 2
เซนติเมตร
ขั้นตอนการประดิษฐ์
ขั้นตอนการประดิษฐ์
3. ตกแต่งแก้วให้สวยงาม
วิธีการเล่น
ชุบฟองน้ำพอหมาดๆ
แล้วถูเชือกเป็นจังหวะเสียงไก่ขัน
...เป็นวิธีการง่ายๆ
กับอุปกรณ์ซึ่งหาได้ไม่ยากสำหรับประดิษฐ์ของเล่นที่ให้ความรู้ฟิสิกส์แก่เด็กๆ
ได้...หลักการทางวิทยาศาสตร์ “ไก่กะต๊าก” เป็นของเล่นที่ประดิษฐ์จากแก้วกระดาษและมีเชือกผูกกลางถ้วยสำหรับใช้ฟองน้ำถูให้เกิดเป็นเสียงไก่ขันที่ดังคล้ายเสียงไก่ร้อง “กะต๊าก” โดยเสียงที่เกิดขึ้นนั้นมาจากการสั่นสะเทือนของเชือกที่ถูกขัดถู ของเล่นชิ้นนี้อาจจะไม่เห็นบ่อยนัก แต่มีหลักการทำง่ายๆ ที่นำไปสอนเด็กๆ ในเรื่องการกำเนิดเสียงได้ ทั้งสนุก ทำง่าย มีวัสดุ - อุปกรณ์ ที่ไม่ยุ่งยากและราคาไม่แพง
ข้อควรระวัง
ความหนาของเชือกและวัสดุในการทำไก่กระต๊าก มีผลต่อระดับความดังเสียงของไก่กระต๊าก
ความหนาของเชือกและวัสดุในการทำไก่กระต๊าก มีผลต่อระดับความดังเสียงของไก่กระต๊าก
อ้างอิงจาก >>> ชวนทำ “ไก่กะต๊าก” ของเล่นเสียงดังจากแรงเสียดสี
(แก้ไข) สื่อเข้ามุม : ตัวกลางของแสง
วัสดุ/อุปกรณ์
วัสดุ/อุปกรณ์
1. ไม้ไอศกรีมแบบคละสี
2. กาว
3. ฝาขวด
4. ตุ๊กตา
5. กระดาษสีชนิดแข็ง
6. แผ่นพลาสติกใส, แผ่นพลาสติกฝ้า
7. แล็คซีน
ขั้นตอนการประดิษฐ์
1. นำไม้ไอศกรีมมาต่อเป็นกล่องสี่เหลี่ยมขนาดพอดีโดยใช้กาวทา
3. เมื่อกาวแห้ง กล่องไม้ไอศกรีมมีความแข็งแรงแล้วจึงนำตุ๊กตามาวางติดด้วยกาวภายในกล่อง
หลักการทางวิทยาศาสตร์
แสงเดินทางเป็นเส้นตรงจากแหล่งกำเนิดแสงหรือแสงที่ตกกระทบวัตถุจะผ่านวัตถุบางชนิดได้ เรียกวัตถุที่แสงผ่านได้ว่า
ตัวกลางของแสง นั่นเอง ซึ่งตัวกลางของแสงแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ดังนี้
ตัวกลางโปร่งใส คือ
ตัวกลางที่ยอมให้แสงผ่านได้หมด จะทำให้มองเห็นวัตถุข้างหน้าได้ชัดเจน เช่น น้ำใส
กระจกใส อากาศ แก้วน้ำใส เป็นต้น
ตัวกลางโปร่งแสง คือ ตัวกลางที่ยอมให้แสงผ่านได้บ้าง
เช่น น้ำขุ่น กระดาษไข กระจกฝ้า แผ่นฟิล์มกรองแสง ผ้าขาวบาง เป็นต้น
ตัวกลางทึบแสง คือ
ตัวกลางที่ไม่ยอมให้แสงผ่าน ถ้านำไปขวางทางเดินของแสงจะทำให้เกิดเงา เช่น ไม้
หนังสือ ตัวคน แผ่นเหล็ก เป็นต้น
อ้างอิงจาก >>> แสงเคลื่อนที่ผ่านตัวกลาง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น