การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ
>>>เอราวรรณ ศรีจักร<<<
หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต
สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
...พฤศจิกายน 2550...
ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
วิทยาศาสตร์มีบทบาทสําคัญยิ่งในสังคมโลกปัจจุบันและอนาคต เพราะวิทยาศาสตร์เกี่ยวของกับชีวิตของทุกคน
ทั้งในการดํารงชีวิตประจําวันและในงานอาชีพต่างๆ เครื่องมือเครื่องใช้ตลอดจนผลผลิตต่างๆ ที่ใช้เพื่ออํานวยความสะดวกในชีวิตและในการทำงาน ล้วนเป็นผลของความรู้วิทยาศาสตร์ผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์และศาสตร์อื่นๆ ความรู้วิทยาศาสตร์ช่วยใหเกิดการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างมากในทางกลับกันเทคโนโลยีก็มีส่วนสำคัญมากที่จะให้มีการศึกษาค้นคว้าความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง
การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ กลุ่มตัวอย่างทใช้ในการศึกษาเป็นเด็กนักเรียน ชาย -หญิง อายุ 4 -
5 ป กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนอนุบาลธนินทร เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร เขตพื้นที่การศึกษา 2 ด้วยการสุ่มตัวอย่างอย่างงาย จํานวน 15 คน เพื่อให้เด็กได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะเป็นระยะเวลา 8
สัปดาห สัปดาหละ 3 วัน วันละ 30 นาที
การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ที่มีความสําคัญต่อเด็กปฐมวัยในการทำกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ จึงแบงออกเป็น 4 ทักษะ คือ ทักษะการสังเกต ทักษะการจําแนกประเภท ทักษะการสื่อสาร และทักษะการลงความเห็น ซึ่งสอดคล้องกับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่มีความสําคัญสำหรับเด็กปฐมวัย ได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการจําแนกประเภท ทักษะการสื่อความหมาย และทักษะการลงความเห็นเช่นกัน
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการทำกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ แบ่งออกเป็น 4 ทักษะ ดังนี้
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการทำกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ แบ่งออกเป็น 4 ทักษะ ดังนี้
1. ทักษะการสังเกต (Observation) หมายถึง ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันเข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือเหตุการณ์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อหารายละเอียดของสิ่งนั้นๆ
ทักษะการสังเกตของเด็กจะปรากฏให้เห็นด้วยการแสดงความสามารถโดยการบอกเล่าถึงลักษณะคุณสมบัติและการเปลี่ยนแปลงของวัตถุหรือเหตุการณ์ต่างๆ ด้วยการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า คือ ตา-ดู หู-ฟัง จมู-กดมกลิ่น ลิ้น-ชิมรส และผิวกาย-สัมผัส
2.
ทักษะการจําแนกประเภท (Classification) หมายถึง ความสามารถในการจัดจําแนกหรือเรียงลําดับวัตถุหรือสิ่งที่อยู่ในปรากฏต่างๆ
ออกเป็นหมวดหมู่โดยมีเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณา 3 ประการ คือ ความเหมือน ความแตกต่าง และความสัมพันธ์
พฤติกรรมที่บอกถึงความสามารถการจําแนกประเภทของเด็ก พบได้จากการบอกการจัดแบ่ง
การจัดเรียงลําดับวัตถุหรือเหตุการณ์ต่างๆ โดยเป็นผู้กําหนดเกณฑ์ปฏิบัติตามเกณฑ์และบอกเกณฑ์ของผู้อื่นได้
3.
ทักษะการจัดกระทําและสื่อความหมายขอมูล (Organization data and communication)
หมายถึง ความสามารถในการนําข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การวัด การทดลอง และจากแหล่งอื่นๆ
มาจัดใหม่ โดยวิธีการต่างๆ
เช่น การจัดเรียงลําดับ การจัดแยกประเภท เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายของข้อมูลชนิดนั้นๆ ดีขึ้น โดยการนําเสนอในรูปตาราง แผนภูมิแผนภาพ และกราฟ
เด็กเกิดทักษะการสื่อสาร คือ ความสามารถในการรับข้อมูลและส่งข้อมูล การส่งข้อมูล คือ การบอกเล่า การเลือกออกแบบวิธีการนําเสนอข้อมูลได้อย่างเหมาะสม สามารถจัด เปลี่ยนแปลง และบรรยายข้อมูลได้อย่างถูกต้องชัดเจน สําหรับการรับข้อมูล คือ การทําความเข้าใจกับข้อมูลเหล่านั้นได้อย่างถูกต้อง
4.
ทักษะการลงความเห็นจากขอมูล
(Inferring) หมายถึง ความสามารถในการนําเสนออธิบายข้อมูลที่มีอยู่ซึ่งได้มาจากการสังเกต การวัด การทดลอง โดยเชื่อมโยงกับความรู้เดิมหรือประสบการณ์เดิม
เพื่อสรุปความเห็นเกี่ยวกับข้อมูลนั้นๆ
พฤติกรรมที่บอกถึงทักษะการลงความเห็นของเด็ก คือ การบอกเล่าความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับวัตถุหรือเหตุการณ์โดยการใช้การสังเกตร่วมกับประสบการ์เดิมที่มีต่อวัตถุหรือเหตุการณ์นั้นๆ
ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
จากกราฟ แสดงให้เห็นว่า ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ เมื่อพิจารณาเป็นรายทักษะ พบว่า หลังจากใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะเด็กมีการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สูงขึ้นกว่าก่อนการ ทดลองทุกด้าน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น