เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
Miss Chalanda Khamjun Student ID 5411203044 Junior Field of Early Childhood Education Faculty of Education Chandrakasem Rajabhat University.

สัปดาห์ที่ 12

วันที่ 28 สิงหาคม 2556

ในระหว่างวันที่ 27-28 สิงหาคม 2556  กลุ่มเรียน 103 ได้ไปศึกษาดูงานนอกสถานที่ ดังนี้
วันที่ 27 สิงหาคม 2556  ณ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราภัฎนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

การบริหารงาน
ภาพ : เกี่ยวกับโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
ภาพ : หลักสูตรการเรียนการสอน

ปฏิทินการปฏิบัติงาน
ปีการศึกษา ๒๕๕๖
ระดับปฐมวัย
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
สรุปองค์ความรู้จากการศึกษาดูงานที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

เก็บตกจากเด็กๆ
VDO : เด็กๆ ชั้นอนุบาล 1/3 ร้องเพลงและทำท่าทางประกอบเพลง
VDO : เด็กๆ ทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
แนวทางการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
            โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาจะแทรกประสบการณ์วิทยาศาสตร์ในเรื่องของโครงการ   ซึ่งจะมีกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทั้ง 7 ทักษะ ได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการลงความเห็น ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับเวลา และทักษะการคำนวณ 


วันที่ 28 สิงหาคม 2556  ณ โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาหรือโรงเรียนนอกกะลา จังหวัดบุรีรัมย์
ภาพ : ครูใหญ่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

VDO : กรณีศึกษาโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา
ภาพ : ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem – based Learning : PBL)
ตารางเรียนโรงเรียนลําปลายมาศพัฒนา
ภาคเช้า  เราพัฒนาสองด้านคือ ความฉลาดทางด้านอารมณ์  (EQ :  Emotional Quotient) 
            - ความตระหนักรู้ตนเอง  รู้จักตนเอง
            - การจัดการกับอารมณ์  รู้เท่าทันอารมณ์ของตนเอง
            - การจุงใจตนเอง  มองโลกในแง่ดี
            - การเห็นอกเห็นใจ  เอาใจเขามาใส่ใจเรา
            - ทักษะทางสังคม  ละเอียดอ่อน  ปรับตัวเข้ากับสังคมได้
ความฉลาดทางด้านอารมณ์เป็นพื้นฐานสำคัญต่อการดำเนินชีวิตอยู่ในสังคม
ความฉลาดทางด้านจิตวิญญาณ (SQ  :  Spiritual  Quotient)
            เป็นการแสวงหาความหมายของชีวิต  มีจุดหมายในแง่บวก  มีความรู้สึกยิ่งใหญ่  รัก  เคารพ  ผูกพัน  และห่วงใยชีวิตอื่นๆ รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของจักรวาล  เขาใจความหมายของการมีชีวิตอยู่  มองเห็นความงามของสรรพสิ่ง 
ตัวอย่างกิจกรรม  เช่น  การได้เล่นกับเพื่อนๆ ใต้ต้นไม้  การมีปฏิสัมพันธ์กับครูที่เป็นกัลยาณมิตร  การได้รับความรักการโอบกอดจากสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย  การทำกิจกรรมจิตศึกษา
ภาคสาย  เราพัฒนาความฉลาดทางด้านการคิด  (IQ  :  Intellectual Quotient)
            แต่ก่อนเราอาจจะให้ความสำคัญกับ  IQ  (Intekegent Quotient) ที่หมายถึง เชาว์ปัญญา  ที่จริงด้านเชาว์ปัญญาเราพัฒนาให้มีค่ามากขึ้นได้น้อยมาก ตั้งแต่เกิดจนตายบางคนพัฒนาขึ้นน้อยมากหรือบางคนน้อยลงเมื่ออายุมากขึ้น  แต่ความฉลาดทางด้านการคิด  เราสามารถพัฒนาให้สูงขึ้นได้  เช่น  ความสามารถคิดอย่างมีเหตุผล  คิดอย่างเป็นนามธรรม  ความสามารถคิดตีความสิ่งต่างๆ  เป็นต้น
ตัวอย่างกิจกรรม  เช่น  การลงมือปฏิบัติ  การใช้จินตนาการและความคิดอันชาญฉลาดเพื่อเรียนรู้สิ่งพื้นฐานที่จำเป็น
ภาคบ่าย  เราพัฒนาความฉลาดทางด้านร่างกาย  (PQ  :  Physical Quotient)
            ความฉลาดทางด้านร่างกายเป็นพื้นฐานของมนุษย์  ความฉลาดสูงสุดในด้านนี้คือ  การที่มนุษย์สามารถรักษาร่างกายให้สมดุล  ใช้ร่างกายในการดำเนินชีวิตไปอย่างปกติราบรื่นได้  ทำงานสอดประสานกับอวัยวะต่างๆ กับสมองได้อย่างสมบูรณ์  สามารถดูแลบำรุงร่างกายเพื่อให้ดำเนินชีวิตอยุ่ได้อย่างปกติสุข  ถึงแม้จะเกิดมาพร้อมกับความพิการ  แต่ถ้ามีความฉลาดทางด้านร่างกายจะสามารถใช้ร่างกายเท่าที่มีดำเนินชีวิตได้ด้วยดี
ปรัชญาสูงสุดของโรงเรียนลำลปายมาศพัฒนาคือ
"การศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์"
นั้นคือการพัฒนาทั้ง  4  ด้านที่กล่าวมาข้างต้น
ปัญญาภายใน
            ปัญญาภายในหรือความฉลาดด้านใน หมายรวมถึง ความฉลาดทางด้านจิตวิญญาณ(SQ)  และความฉลาดทางด้านอารมณ์(EQ)  ซึ่งได้แก่ 
            การรับรู้อารมณ์และความรู้สึกของตนเอง(รู้ตัว) และการรับรู้อารมณ์และความรู้สึกของผู้อื่น  มีความสามารถจัดการอารมณ์หรือปรับสมดุลทางอารมณ์ของตนเองได้   
            การเห็นคุณค่าในตัวเอง  คนอื่นและสิ่งต่างๆ  เพื่อการดำเนินชีวิตอย่างมีเป้าหมายและมีความหมาย  
            การอยู่ด้วยกันอย่างภารดรภาพ  ยอมรับในความแตกต่าง  เคารพและให้เกียรติกัน  การมีวินัย  มีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม  อยู่อย่างพอดีและพอใจได้ง่าย
            การมีสติอยู่เสมอ  รู้เท่าทันอารมณ์เพื่อให้รู้ว่าต้องหยุดหรือไปต่อกับสิ่งที่กำลังเป็นอยู่ การมีสัมมาสมาธิ   เพื่อกำกับความเพียรให้การเรียนรู้หรือการทำภาระงานให้ลุล่วง  มีความอดทนทนทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
            การเห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างตนเองกับสิ่งต่างๆ  นอบน้อมต่อสรรพสิ่งที่เกื้อกูลกันอยู่  
            การมีจิตใหญ่มีความรักความเมตตามหาศาล 
ภาพ : กระทวนทัศน์ของจิตศึกษา
ปัญญาภายนอก
            ปัญญาภายนอกได้แก่การพัฒนาความฉลาดทางด้านร่างกายและด้านสติปัญญา
ความฉลาดทางด้านร่างกาย  (Physical Quotient)
            เป็นการพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถดูแลและใช้กายอย่างมีคุณภาพ  มีความแข็งแรง  อดทน  อวัยวะทุกส่วนทำงานอย่างสอดประสานกัน
ความฉลาดทางด้านสติปัญญา (Intellectuals Quotient)
            ความฉลาดด้านนี้เป็นการเรียนรู้ของศาสตร์ต่างๆ เพื่อให้เข้าใจต่อโลกและปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น  ซึ่งประกอบด้วยความรู้มากมายหลายแขนงที่จะใช้ในการดำเนินชีวิตหรือการประกอบอาชีพ
"ความฉลาดทางด้านนี้ต้องไปไกลกว่าความรู้ คือความเข้าใจ"

สรุปองค์ความรู้จากการศึกษาดูงานที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

เก็บตกจากเด็กๆ

VDO : เด็กๆ เล่นเกมต่อจิ๊กซอ
แนวทางการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
            โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาไม่มีวิชาวิทยาศาสตร์  เพราะเน้นการเรียนแบบบูรณาการในภาษาไทย คนิตศาสตร์และโครงการ สิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนล้วนแต่เป็นการเรียนรู้ด้านวิทยาศตร์ เช่น ต้มไม้ ระบบนิเวศต่างๆ เป็นต้นซึ่งการเรียนแห่งนี้ให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อการนำไปใช้ได้จริง ที่ใม่ใช่แค่รู้ทฤษฏี
            การเรียนรู้แบบบูรณาการในแต่ละหน่วยแบบ PBL มีทั้งหมด 4 หน่วย
            1. ตัวเรา
            2. สถานที่
            3. สิ่งแวดล้อม
            4. ธรรมชาติ
            ชั้นอนุบาลและชั้นประถมศึกษาออกแบบการเรียนเหมือนกัน คือ มาตรฐานและตัวชี้วัดพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใต สังคมและสติปัญญา
Photobucket - Video and Image Hosting

สัปดาห์ที่ 11

วันที่ 21 สิงหาคม 2556

หมายเหตุ ไม่มีการเรียนการสอน
- อาจารย์ได้มอบหมายงานให้ทำในในสัปดาห์นี้ มี 2 กิจกรรม คือ
กิจกรรมที่หนึ่ง : ให้นักศึกษาประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์ 3 ชิ้น ได้แก่ ของเล่นวิทยาศาสตร์ การทดลองวิทยาศาสตร์ และสื่อเข้ามุมวิทยาศาสตร์ แล้วถ่ายรูปบันทึกลงบล็อกให้เรียบร้อย
กิจกรรมที่สอง : การประดิษฐ์ว่าวจากใบไม้แห้ง ดังนี้

ว่าวใบไม้ล้อลม ของเล่นธรรมชาติ
                

>>> สาธิตการลอยของว่าวใบไม้ <<<
            ว่าวใบไม้ ทำจากใบไม้หลายประเภท เช่น ใบต้นหัวว่าว (กระแตไต่ไม้), ใบยาง, ใบไผ่ บางแห่งก็ใช้ใบไม้อื่น เช่น หูกวาง เป็นต้น 
            การทำว่าวจากวัสดุธรรมชาติ ใช้ใบตองตึงเป็นวัสดุในการทำตัวว่าว ใบตองตึงไม่ใช่ใบกล้วยเป็นใบไม้ทางภาคอีสานในอดีตใช้ห่ออาหาร ลักษณะเป็นใบใหญ่ๆ นำมาตากแห้งหรือใบไม้อื่นๆ เช่น ใบกระบอก ใบยางแดง ใบมะม่วงหิมพานต์หรือใบไม้ต่างๆ ที่มีขนาดใหญ่ เป็นการทำว่าวลักษณะง่าย นำใบไม้มาต่อเชือกติดหาง ซึ่งเด็กๆ ในชนบทภาคต่างๆ นิยมนำมาทำเล่นเรียกว่า ว่าวใบไม้
             ว่าวใบไม้ เป็นว่าวที่ใช้ลากเล่น แต่ไม่สามารถลอยกินลมได้นานๆ เหมือนว่าวทั่วไป จุดเด่นอยู่ที่เป็นกระบวนการสอนให้เด็กๆ ใช้ของจากธรรมชาติ มาประดิษฐ์เป็นของเล่นง่ายๆ ไม่เปลืองเงิน
Photobucket - Video and Image Hosting

สัปดาห์ที่ 10

                                                วันที่ 14 สิงหาคม 2556

- อาจารย์ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการไปศึกษาดูงาน  ในวันอังคาร ที่ 27 – วันพุธ ที่ 28 สิงหาคม 2556 ที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา  จังหวัดนครราชสีมา  และโรงเรียนลำปลายมาศ  จังหวัดบุรีรัมย์  โดยให้นักศึกษาดำเนินการแบ่งหน้าที่ที่รับผิดชอบในแต่ละฝ่าย  ดังนี้
            การไปศึกษาดูงานนอกสถานที่นั้น  นักศึกษาต้องมีการเตรียมตัวเป็นอย่างดี  ด้วยการศึกษาข้อมูลของแต่ละโรงเรียน  เพื่อเป็นแนวทางในการสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลด้านการเรียนการสอนหรือการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์  ดังนั้นจึงต้องมีการวางแผนร่วมกัน  แบ่งหน้าที่กัน  เพื่อให้งานบรรลุวัตถุประสงค์  และสามารถนำความรู้ที่ได้มาปรับหรือประยุกต์การเรียนการสอนในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
องค์ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
Photobucket - Video and Image Hosting

เข้าร่วมการอบรม

วันที่ 13 สิงหาคม 2556

            วันอังคารที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2556  เวลา 13:00 – 16:30 .  อาจารย์ให้นักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัยชั้นปีที่ 3 เข้าร่วมอบรม โครงการการจัดการศึกษาสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต  ณ ห้องประชุมจันทร์ประ-ภัสส์  ชั้น 5  อาคารสำนักงานอธิการบดี  บรรยายพิเศษ เรื่องการจัดการศึกษาสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต  โดย คุณมีชัย  วีระไวทยะ  วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ
            หมายเหตุ  ดิฉันไม่ได้เข้าร่วมการอบรมค่ะ
Photobucket - Video and Image Hosting

สัปดาห์ที่ 9

วันที่ 7 สิงหาคม 2556

โครงการที่ 22
โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย (ภาคปกติ)
กิจกรรม 3 ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
โครงการ...กายงาม  ใจดี  ศรีปฐมวัย
วันพุธ ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556  เวลา 08:00 – 16:30 น.
ณ ห้องประชุม 2  คณะศึกษาศาสตร์
- เพื่อนๆ ชั้นปีที่ 3 รำเปิดโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

ภาพ : การแสดงระบำศรีวิชัย 
ภาพ : การแสดงเซิ้งกระติบ
- อาจารย์ณุตรา  พงษ์สุผล  กล่าวเปิดงานและบรรยายในหัวข้อ มารยาท ซึ่งนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัยต้องพึงประสงค์
- สาธิตมารยาทในการไหว้ตามแบบต่างๆ จากรุ่นพี่ปีที่ 4
            การไหว้ เป็นการแสดงความเคารพ โดยการประนมมือแล้วยกมือทั้งสองขึ้นจรดใบหน้าให้เห็นว่าเป็นการแสดงความเคารพอย่างสูง การไหว้แบบไทย แบ่งออกเป็น 3 แบบ ตามระดับของบุคคล
ระดับที่ 1 การไหว้พระ
ระดับที่ 2 การไหว้ผู้มีพระคุณและผู้อาวุโส
ระดับที่ 3 การไหว้บุคคลทั่ว ๆ ไป 
ภาพ : การไหว้แบบมารยาทไทย
- สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
- ข้อคิดเตือนใจที่ได้รับจากการอบรม
Photobucket - Video and Image Hosting