วันที่ 25 กันยายน 2556
v อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
เข้ามาบอกถึงรายละเอียดต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. การทำ Blog จะต้องมี
- ภาษาที่สวยงามเป็นทางการ
- สรุปจากการอ่านงานวิจัยของตนเองคนละ 1 เรื่อง
- สรุปความรู้ที่ได้จากการดูโทรทัศน์ครู
- สรุปความรู้จากบทความ
2. วันเสาร์ที่ 28 กันยายน 2556
เรียนชดเชย ให้นักศึกษาเตรียมการทดลองวิทยาศาสตร์,สื่อเข้ามุมวิทยาศาสตร์,สื่อเสริมประสบการณ์วิทยาศาสตร์
3. ชี้แจงเอกสารประกอบการสอบปลายภาค : สอบวันที่ 7
ตุลาคม 2556
v อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
เข้าสอนเวลา 09:20 น. อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละคนสรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจากการเรียนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เป็น Mind Mapping ดังนี้
สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับ
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ควรเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีประสบการณ์ตรง ได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยมีครูเป็นผู้ตอบสนองความสนในของเด็กและส่งเสริมการจัดโครงสร้างความคิดจากประสบการณ์ เพื่อพัฒนามุมมองและความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงการส่งเสริมทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลและมีความรับผิดชอบที่รักษาสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวอย่างเหมาะสมตามวัย
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัยควรส่งเสริมด้านต่างๆ
ดังนี้
1. สนับสนุนและส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก
2. สนับสนุนและส่งเสริมความต้องการในการตั้งคำถาม
3. ส่งเสริมการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ สำรวจ ตรวจสอบ จำแนกสิ่งต่างๆ
4. ส่งเสริมกระบวนการคิด
5. ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์
6. ส่งเสริมความสนใจในการดูแลและรับผิดชอบต่อสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว
7. เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความรู้สึกชื่นชมยินดีในธรรมชาติ
1. สนับสนุนและส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก
2. สนับสนุนและส่งเสริมความต้องการในการตั้งคำถาม
3. ส่งเสริมการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ สำรวจ ตรวจสอบ จำแนกสิ่งต่างๆ
4. ส่งเสริมกระบวนการคิด
5. ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์
6. ส่งเสริมความสนใจในการดูแลและรับผิดชอบต่อสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว
7. เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความรู้สึกชื่นชมยินดีในธรรมชาติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น