วันที่ 3 กรกฎาคม 2556
- อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนฉีกกระดาษ A4 จำนวน 2 แผ่น ให้ได้ทั้งหมด 16 แผ่น ทำเป็นสมุดเล่มเล็กจำนวน 2 เล่ม เล่มละ 8 แผ่น แล้ววาดรูปอะไรก็ได้จากแผ่นแรกจนถึงแผ่นสุดท้าย โดยที่แต่ละแผ่นจะค่อยๆ เติมรายละเอียดลงไป เมื่อเสร็จแล้วให้เปิดหน้าแรกไปจนถึงหน้าสุดท้ายอย่างรวดเร็ว (ดิฉันวาดรูปดอกทานตะวัน) เราเรียกวิธีการนี้ว่า ภาพเคลื่อนไหวแบบการเคลื่อนที่หยุดหรือสตอปโมชัน (Stop motion)
การบ้าน : การที่เราเปิดดูอะไรเร็วๆ
ทำไมจึงเกิดการเคลื่อนไหวหรือเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นเรื่อยๆ
คำตอบ : แอนิเมชัน (animation) หมายถึง การสร้างภาพเคลื่อนไหวโดยการฉายภาพนิ่งหลายๆ
ภาพต่อเนื่องกันด้วยความเร็วสูง การใช้เทคนิคการถ่ายภาพหรือวาดรูปหรือรูปถ่ายแต่ละขณะของหุ่นจำลองที่ค่อยๆ ขยับ จะเรียกว่า ภาพเคลื่อนไหวแบบการเคลื่อนที่หยุดหรือสตอปโมชัน (stop
motion) โดยหลักการแล้ว ไม่ว่าจะสร้างภาพ หรือเฟรมด้วยวิธีใดก็ตาม เมื่อนำภาพดังกล่าวมาฉายต่อกันด้วยความเร็ว ตั้งแต่ 16 เฟรมต่อวินาทีขึ้นไป เราจะเห็นเหมือนว่า ภาพดังกล่าวเคลื่อนไหวได้ต่อเนื่องกัน
ทั้งนี้เนื่องจากการเห็นภาพติดตา
>>> อ้างอิงจาก : แอนิเมชัน
- อาจารย์ทบทวนและสรุปเรื่องความลับของแสง จากของเล่น "ลำแสง"
- อาจารย์ให้ดู VDO
เรื่องมหัศจรรย์ของน้ำ
- บันทึกองค์ความรู้ที่ได้จากการดู
VDO ส่งในชั่วโมง ด้วยการทำเป็น Mind Mapping
- องค์ความรู้และทักษะที่ได้รับจากการเรียน
จากการที่ได้สรุปความรู้ในการดู
VDO ส่วนมากจะเขียนเป็นความเรียง
ซึ่งต้องใช้เวลามากและข้อมูลไม่ตรงประเด็น อาจารย์จึงแนะนำให้นักศึกษาหันมาเขียนในรูปแบบ
Mind Mapping แทน ซึ่งทำได้ง่าย รวดเร็ว และประหยัดเวลา
ข้อเสนอแนะในการดู VDO : ขาดเรื่องของกระบวนการในการนำเสนอข้อมูลด้วยการตั้งสมติฐาน
การนำไปรับใช้ : ผู้สอนสามารถนำไปสอนวิชาวิทยาศาสตร์ได้ แต่การอธิบายด้วยการพูดจะทำให้เข้าใจยาก มองไม่เห็นภาพ ดังนั้นถ้าเราจะนำเสนอผลงานเราต้องทำให้นักเรียนเห็นภาพที่ชัดเจน เช่น ภาพเคลื่อนไหวหรือวิดีโอประกอบ เป็นต้น
- อาจารย์มอบหมายงานดังนี้
๐ ให้นักศึกษาหาการประดิษฐ์ของเล่นทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยแบบง่ายๆ ที่เด็กสามารถประดิษฐ์ได้ พร้อมเขียนอธิบายแบบคร่าวๆไว้
ดิฉันเลือกของเล่นชุด : หลอดเลี้ยงลูกบอล
>>> อ้างอิงจาก
: หลอดเลี้ยงลูกบอล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น