เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
Miss Chalanda Khamjun Student ID 5411203044 Junior Field of Early Childhood Education Faculty of Education Chandrakasem Rajabhat University.

สัปดาห์ที่ 8

วันที่ 31 กรกฎาคม 2556

หมายเหตุ ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอยู่ในช่วงการสอบกลางภาค ประจำภาคเรียนที่ 1/2556
Photobucket - Video and Image Hosting

สัปดาห์ที่ 7

วันที่ 24 กรกฎาคม 2556

อาจารย์ทบทวนความรู้เดิมจากเนื้อหากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ พร้อมยกตัวอย่างประกอบในแต่ละขั้นตอน  ดังนี้
            วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เป็นขั้นตอนการทำงานอย่างเป็นระบบที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
            1. ขั้นสังเกตเพื่อระบุปัญหา คือ การระบุปัญหาหรือสิ่งที่ต้องการศึกษาและกำหนด ขอบเขตของปัญหา
            2. ขั้นตั้งสมมติฐาน คือ การคิดคำตอบที่คาดหวังว่าควรจะเป็นหรือการคาดเดาคำตอบที่จะได้รับ
            3. ขั้นการรวบรวมข้อมูล คือ การรวบรวมข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตรวจสอบ สมมติฐานที่ตั้งไว้ว่าถูกหรือผิดโดยมีหลักฐานยืนยัน อาจทำได้โดยการสังเกตหรือการทดลอง
            4. ขั้นสรุปผล คือ การสรุปว่าจะปฏิเสธหรือยอมรับสมมติฐานตามหลักเหตุและผลเพื่อให้ได้คำตอบของปัญหา
            ทักษะพื้นฐานที่ต้องนำมาใช้ในกระบวนการ คือ การสังเกต การจำแนกและเปรียบเทียบ การวัด การสื่อสาร การทดลอง การสรุปและการนำไปใช้   ดังนี้
            การสังเกต ครูต้องสอนให้เด็กรู้จักสังเกตใช้เทคนิคการสังเกตเป็น เด็กต้องได้รับการสอนให้รู้จักสังเกตปรากฏการณ์หรือการกระทำอย่างระมัดระวังและถี่ถ้วน จากการสังเกตนอกจากการใช้ ตาดู เด็กอาจต้องใช้หูฟัง จมูกดมกลิ่น ลิ้นชิมรส กายสัมผัสหรือรับความรู้สึก หรือใช้ทุกอย่างร่วมกัน
            การจำแนกเปรียบเทียบ การจำแนกเป็นทักษะพื้นฐานที่ใช้ในการจัดระเบียบข้อมูล ซึ่งในการจำแนกนี้เด็กต้องสามารถเปรียบเทียบและบอกข้อแตกต่างของคุณสมบัติ ถ้าเด็กเล็กมาก เด็กอาจจำแนกสีหรือจำแนกรูปร่างได้ การจำแนกหรือเปรียบเทียบสำหรับเด็กปฐมวัย ต้องใช้คุณสมบัติหยาบ ๆ เห็นรูปธรรมเด็กจึงจะทำได้
            การวัด การวัดเป็นกระบวนการรวบรวมข้อมูลและตัดสินเพื่อบอกว่าขนาด ปริมาณของสิ่งที่เห็นคืออะไร เด็กปฐมวัยจึงใช้การวัดเป็นการเปรียบเทียบเชิงปริมาณโดยสามารถใช้เครื่องมือวัดอย่างหยาบได้ สามารถบอกมาก-น้อยกว่ากันได้
            การสื่อสาร ทักษะการสื่อสารจำเป็นมากในกระบวนการวิทยาศาสตร์ เพราะการสื่อสารเป็นทางบอกว่าเด็กได้ สังเกต จำแนก เปรียบเทียบ หรือวัด เป็นหรือไม่ เข้าใจข้อมูลหรือสิ่งที่ศึกษาในระดับใด ด้วยการกระตุ้นให้เด็กแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน อภิปรายข้อค้นพบ บอก และบันทึกสิ่งที่พบ
            การทดลอง เด็กปฐมวัยเป็นนักทดลองมาโดยกำเนิด เช่น การรื้อค้น การกระแทก การทุบ การโยนสิ่งของหรือการเล่น จากการเล่นเป็นการเรียนรู้ ซึ่งมักเป็นการทดลองแบบลองผิดลองถูก แต่การทดลองทางวิทยาศาสตร์จะถูกจัดระเบียบมากขึ้น มีการควบคุมให้เด็กทำอย่างมีระเบียบวิธี มีการสังเกตอย่างมีความหมาย เช่น การทดลองการกระจายของหยดสีในน้ำที่มีความเข้มข้นไม่เท่ากัน เด็กจะสังเกตเห็นสีสด สีจาง ต่างกัน
            การสรุปและการนำไปใช้ เด็กปฐมวัยมีความสามารถสรุปได้เฉพาะข้อมูลเชิงประจักษ์ เด็กสามารถบอกว่าอะไรเกิดขึ้น สาเหตุใด มีผลอย่างไร แต่เป็นไปตามสายตาที่เห็นเป็นรูปธรรมเท่านั้น ซึ่งการทดลองวิทยาศาสตร์ ทำให้เด็กเห็นจริงกับตา สัมผัสกับมือ เด็กจะบอกได้ว่ามีอะไรเกิดขึ้น การได้ฝึกทักษะอย่างเป็นกระบวนการจะทำให้เด็กสามารถบอกได้ว่าจะนำไปใช้ทำอะไร หรือนำไปใช้แก้ปัญหาอย่างไรได้ด้วย

            สมองกับวิทยาศาสตร์
            1. ตีข้อมูลที่ได้รับเพื่อทำความเข้าใจ
            2. หาเหตุผลเชื่อมโยงสิ่งที่คิดขึ้นเพื่อสืบค้นความจริง
            3. ประเมินคุณค่า
            4. จำแนกองค์ประกอบเพื่อให้เห็นภาพรวม
            องค์ประกอบของการคิดทางวิทยาศาสตร์
            1. สิ่งที่กำหนด ---> สังเกต / จำแนก / วัด /คำนวณ
            2. หลักการหรือกฎเกณฑ์ ---> เกณฑ์การจำแนก
            3. การค้นหาความจริงหรือความสำคัญ
            เทคนิคการคิดวิเคราะห์ 5 W 1 H
            เทคนิคการคิดวิเคราะห์ การคิดวิเคราะห์เป็นการคิดโดยใช้สมองซีกซ้ายเป็นหลัก เป็นการคิดเชิงลึก คิดอย่างละเอียด จากเหตุไปสู่ผล ตลอดจนการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ในเชิงเหตุและผล
            ประโยชน์ของการคิดวิเคราะห์
            1. ช่วยให้เรารู้ข้อเท็จจริง รู้เหตุผลเบื้องหลังของสิ่งที่เกิดขึ้น เข้าใจความเป็นมาเป็นไปของเหตุการณ์ต่างๆ
            2. เป็นฐานความรู้ในการนำไปใช้ในการตัดสินใจแก้ปัญหา
            3. ช่วยให้เราหาเหตุผลที่สมเหตุสมผลให้กับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง 4. ช่วยประมาณความน่าจะเป็น  

องค์ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
ภาพ : เนื้อหาทางวิทยาศาสตร์

อาจารย์อธิบายการเรียนการสอนแบบโครงการ (Project Approach)
Project Approach การสอนแบบโครงการ เทคนิคการเรียนการสอนที่จะทำให้เด็กๆ สามารถเรียนสิ่งที่ตัวเองสนใจได้อย่างลุ่มลึกและถ่องแท้
ความหมายของการสอนแบบโครงการ
          การสอนแบบโครงการคือ วิธีการสอนรูปแบบหนึ่งที่ให้โอกาสเด็กเรียนรู้โดยการสืบค้นหาข้อมูลอย่างลึกในหัวเรื่องเฉพาะที่เด็กสนใจ ควรค่าแก่การเรียนรู้  หัวเรื่องที่ถูกเลือกควรมีความหมายต่อชีวิตต่อตัวเด็ก และครูสามารถบูรณาการเนื้อหา เช่น คณิตศาสตร์ การอ่านและวิทยาศาสตร์ ฯลฯ ในการทำโครงการของเด็กได้ด้วย ทั้งนี้ ลักษณะเด่นของโครงการคือการค้นหาคำตอบจากคำถามที่เกี่ยวกับหัวเรื่อง คำถามนี้อาจมากจากเด็ก จากครูหรือครูกับเด็กร่วมกัน เด็กมีโอกาสที่จะวางแผนสืบค้นด้วยตนเอง โดยมีครูช่วยเหลือการทำโครงการของเด็กจะรวมการวางแผนศึกษาสถานที่ต่างๆและหรือสัมภาษณ์เด็ก แก้ปัญหา แลกเปลี่ยนสิ่งที่เด็กเรียนรู้กับบุคคลอื่น (Katz, 1994 ;Helm and Katz,2001)
ความแตกต่างระหว่างการสอนแบบหน่วยกับการสอนแบบโครงการ มีดังนี้
การสอนแบบหน่วย
การสอนแบบโครงการ
1.ระยะเวลาการเรียนรู้แบบหน่วยการสอนของเด็กจะสั้นประมาณ 1 – 2 อาทิตย์


2.หัวเรื่องของหน่วยการสอนเกิดจากหลักสูตรและครูเด็กอาจสนใจหรือไม่สนใจก็ได้


3.ครูมีการวางแผนล่วงหน้า นำเสนอหัวเรื่องออกแบบและเตรียมประสบการณ์การเรียนรู้
4.ครูกำหนดจุดประสงค์บนพื้นฐานของเป้าหมายที่หลักสูตรกำหนด อาจจัดให้มีหรือไม่มีประสบการณ์การสืบค้น



5.ความรู้ที่เด็กได้เกิดจากการวางแผนการจัดประสบการณ์ของครู แหล่งเรียนรู้ต่างๆ ถูกนำไปใช้ในห้องเรียน
6. แหล่งข้อมูลต่างๆ ถูกกำหนดโดยครูแต่เด็กอาจมีส่วนนำแหล่งข้อมูลนั้นๆมาได้ด้วย

7.การออกภาคสนามอาจมีหรือไม่มี ถ้ามีมักจะเกิดในเวลาใกล้สิ้นสุดหน่วยการสอน




8.ครูจะสอนหัวเรื่องต่างๆ ในช่วงเวลาที่กำหนดให้แต่ละวัน และอาจสอดแทรกการ บูรณาการเนื้อหาต่างๆ เข้าด้วยกัน

9.ครูเป็นผู้วางแผนกิจกรรมต่างๆ และให้เรียนเฉพาะแนวคิดที่กำหนด


10.การนำเสนอจะเชื่อมโยงกับกิจกรรมที่กำหนดไว้โดยเฉพาะ เช่น การวาดเพื่อแสดงการสังเกตในการทดลองวิทยาศาสตร์ การเขียนแผนที่ การเขียนภาพ และจะไม่มีการนำเสนอซ้ำ
1.ระยะเวลาของโครงการขึ้นอยู่กับความก้าวหน้าของโครงการ ปกติใช้เวลาหลายสัปดาห์บางโครงการใช้เวลาเป็นเดือน
2.หัวเรื่องของโครงการเกิดจากการตกลงระหว่างเด็กกับครุ พร้อมกับบูรณาการเป้าหมายของหลักสูตร เกณฑ์การเลือกหัวเรื่องขึ้นอยู่กับความสนใจของเด็กมากที่สุด
3.ครูสังเกตการสืบค้นของเด็ก ใช้ความสนใจของเด็กเป็นเครื่องตัดสินการดำเนินโครงการ
4.ครูทำใยแมงมุม Web ประเมินความรู้เดิมของเด็กแล้วจึงตระเตรียมโครงการให้เด็กเรียนรู้สิ่งที่เด็กไม่ทราบ โดยบูรณาการจุดประสงค์ของหลักสูตรเข้าไปด้วยขณะที่โครงการกำลังดำเนินอยู่ และต้องให้เด็กได้สืบค้นอย่างสมํ่าเสมอ
5.ความรู้ที่เด็กได้รับเกิดจากการสืบค้นหาคำตอบจากคำถาม เด็กมีส่วนร่วมตัดสินใจทำกิจกรรมร่วม ในเหตุการณ์ต่างๆ
6. แหล่งข้อมูลต่างๆ ถูกนำมาโดยเด็ก ครูและผู้เชี่ยวชาญที่มาเยี่ยมเยียนห้องเรียนหรือจากการออกภาคสนาม
7.การออกภาคสนามเป็นกระบวนการที่สำคัญของการสอนแบบโครงการแต่ละโครงการเด็กอาจไปสืบค้นข้อมูลในที่ต่างๆกัน และการออกภาคสนามจะปรากฏในช่วงต้นๆ ของการทำโครงการ
8.โครงการจะสอดแทรกในช่วงวันที่เด็กทำกิจกรรมตามปกติในชั้นเรียน และเชื่อมโยงให้เกี่ยวข้องกับหลักสูตรและทักษะต่างๆได้
9.กิจกรรมต่างๆ จะเน้นการสังเกตสืบค้นหาคำตอบจากคำถาม การใช้แหล่งข้อมูลต่างๆ ครูจะช่วยบูรณาการแนวคิดระหว่างการอภิปรายและการสรุป
10.การนำเสนอ (เช่น การวาดภาพ การเขียน การสร้าง การก่อสร้าง ฯลฯ ) ท้าทายเด็กให้บูรณาการแนวคิดต่างๆ เข้าด้วยกัน ข้อมูลที่นำเสนอคือสิ่งที่เด็กเรียนรู้ความเข้าใจทักษะที่เกิดขึ้น ซึ่งแสดงความก้าวหน้าของโครงการ
จากการเปรียบเทียบการสอนทั้งสองรูปแบบจะพบว่า การสอนแบบโครงการนั้นเด็กมีส่วนริเริ่ม ตัดสินใจ สืบค้น เรียนรู้ประสบการณ์ด้วยตนเองมากกว่าการสอนแบบหน่วยที่ครูเป็นผู้วางแผนให้ อย่างไรก็ตามเราจะพบว่ามีครูปฐมวัยที่นำลักษณะบางประการของกระบวนการทำโครงการ (เช่น การสร้าง การวาดจากการสังเกต และการจัดทำข้อมูลการเรียนรู้ ฯลฯ) ไปใช้ในรูปแบบการจัดการเรียนการสอนอื่นๆ อาทิ การสอนแบบหน่วย ซึ่งทำให้การสอนแบบหน่วยมีส่วนคล้ายกับการสอนแบบโครงการ
ภาพ : โครงสร้างของการปฏิบัติโครงการ
ประโยชน์ที่เด็กได้เรียนรู้จากการทำโครงการ
1. ช่วยให้เด็กมีโอกาสที่จะประยุกต์ใช้ทักษะที่มีอยู่ และเพิ่มความชำนาญในทักษะนั้นยิ่งขึ้น
2. แสดงให้เห็นถึงความสามารถและความถนัดของเด็ก
3. แสดงให้เห็นแรงจูงใจภายใน และความสนใจที่เกิดจากตัวเด็กในงานและกิจกรรมที่ทำ
4.ส่งเสริมให้เด็กรู้จักตัดสินใจว่าควรทำอะไร และผู้ใหญ่ยอมรับในความต้องการของเด็กโดยที่เด็กมีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีครูเป็นผู้ให้คำแนะนำ และเด็กเป็นผู้ตัดสินใจลงมือทำด้วยตัวเด็กเอง
ภาพ : ระยะการทำโครงการ
บทสรุป
          การสอนแบบโครงการ เป็นการสอนวิธีหนึ่งในหลายๆวิธีที่มีอยู่ ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ช่วยบูรณาการความรู้ ทักษะ และนำเสนออย่างเป็นทางการในห้องเรียน เด็กได้ประยุกต์และใช้สิ่งที่ตนเรียนรู้ แก้ปัญหา และเปลี่ยนสิ่งที่ทราบ พัฒนาทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นและท้าทายให้เด็กคิด เป็นการสนับสนุนพัฒนาการเด็กทางด้านสมอง เด็กมักจะมีคำถามของตนเองและสนใจที่จะเรียนรู้ใช้แหล่งข้อมูลต่างๆ รวมทั้งตัวครูในการหาคำตอบ ครูควรจะรับฟังสิ่งที่เด็กพูดและสิ่งที่เด็กถามอย่างจริงใจ ผลสำเร็จของการทำโครงการจึงขึ้นอยู่กับประสบการณ์เดิม สิ่งแวดล้อม ความสนใจและความอยากรู้อยากเห็นของเด็กเป็นอย่างมาก การสอนแบบโครงการน่าจะเป็นหนทางหนึ่งสำหรับครูที่จะสนับสนุนให้เด็กได้เรียนรู้อย่างกระตือรือร้นอย่างมีความหมายต่อเด็ก และนำครูไปสู่การสอนที่มีประสิทธิภาพได้ทางหนึ่ง

อ้างอิงจาก : โทรทัศน์ครู 
Photobucket - Video and Image Hosting

สัปดาห์ที่ 6

วันที่ 17 กรกฎาคม 2556

ของเล่นวิทยาศาสตร์ : หลอดเลี้ยงลูกบอล
วัสดุ/อุปกรณ์
                                                                            1. หลอดกาแฟ
                                                                            2. ฟอยล์อลูมิเนียม
                                                                            3. กรรไกร
                                                                                 วิธีการทำ
1. ใช้กรรไกรตัดปลายหลอดออกเป็นแฉกๆ 1ด้าน
2. ใช้นิ้วชี้กดปลายหลอดออกให้บานๆ เหมือนถ้วย
3. ขยัมกระดาษฟอยล์อลูมิเนียมให้เป็นลูกกลมๆ มีขนาดที่พอดีกับหลอดสามารถวางบนปลายหลอดได้
4. ลองเป่าปลายหลอดอีกด้านที่ไม่ได้ตัดเพื่อตรวจสอบว่าลูกบอลลอยขึ้นไหม
             หมายเหตุ นอกจากลูกบอลฟอยล์อลูมิเนียมแล้ว เราสามารถใช้ลูกอะไรกลมๆ ที่ไม่หนักเกินไป เช่น ลูกกระสุน BB หรือพลาสติกกลมๆ ก็ได้
วิธีการเล่น
            นำลูกบอลมาวางไว้บนถ้วยที่ทำจากการตัดปลายหลอดออกเป็นแฉกๆ แล้วเป่าเลี้ยงลูกบอลในอากาศให้อยู่ได้นานๆ
หลักการทางวิทยาศาสตร์
             การทำงานของหลอดเลี้ยงลูกบอล คือ ความสัมพันธ์ระหว่างความดันและความเร็วของอากาศ ธรรมชาติของอากาศก็คือที่ใดที่อากาศไหลเร็ว ความดันอากาศแถวนั้นจะน้อย ดังนั้นถ้าบริเวณอื่นที่อยู่รอบๆ มีความดันอากาศมากกว่า ก็จะมีลมวิ่งจากที่ความดันมากเข้าหาที่ความดันน้อยกว่า เรียกว่าหลักการของเบอร์นูลลี
ความรู้ที่ได้จากการทดลองหลอดเลี้ยงลูกบอล
            เมื่อเราเป่าลมเข้าในหลอด แรงลมก็จะผลักให้ลูกบอลลอยขึ้น ลมที่โดนด้านล่างของลูกบอลก็จะไหลไปด้านข้างๆ ขึ้นไปข้างบน ในที่สุดลมเหล่านี้วิ่งเร็วกว่าอากาศที่อยู่ห่างจากลูกบอล ความดันข้างๆ ใกล้ๆ ลูกบอลจึงต่ำกว่าความดันที่ห่างออกไปข้างๆ จึงมีแรงผลักรอบๆ ให้ลูกบอลอยู่บริเวณที่มีลมเป่าขึ้นเสมอ เราจึงสามารถ "เลี้ยง" ลูกบอลอยู่ได้นานๆ

การทดลอง : สีเต้นระบำ
วัสดุ/อุปกรณ์
                                                                        1. นมสด
                                                                        2. สีผสมอาหาร 2-3 สี
                                                                        3. น้ำยาล้างจาน
                                                                        4. จานก้นลึก
                                                                        5. ที่หยดสีหรือคัทตอลบัท
                                                                           วิธีทดลอง                                                                                                                                 
1.  เทนมลงในจาน วางทิ้งไว้ให้น้ำนมนิ่งๆ 
                                                         
            2. หยดสีผสมอาหารลงไปตรงกลางจาน สีละ 1-2 หยด      
                                                                                                                            3. หยดน้ำยาล้างจานลงไปบนสีผสมอาหาร ทีละ หยด
4. สังเกตการเปลี่ยนแปลงของสี
            โดยปกติแล้วนมก็เป็นของเหลวเหมือนกับน้ำครับ เพียงแต่ว่าในนมจะมี เกลือแร่ วิตามิน โปรตีน แล้วก็หยดไขมันที่กระจายตัวอยู่เต็มไปหมด แล้วน้ำยาล้างก็นี่เองก็ไปทำให้โมเลกุลของไขมันในนมเปลี่ยนรูปร่างไป แรงยึดเหนี่ยวของโมเลกุลไขมันถูกทำลายส่งผลให้โครงสร้างแรงยึดเหนี่ยวบริเวณใกล้เคียงถูกทำลายด้วย หยดสีจึงเคลื่อนที่ออกจากกันด้วยนั่นเอง                        
หลักการทางวิทยาศาสตร์                                                                                                                                   
          การทดลองเกี่ยวกับแรงตึงผิวน้ำยาล้างจานทำให้แรงตึงผิวลดลง นมที่อยู่ใกล้น้ำยาล้างจานจึงแตกกระจายและนมจากส่วนอื่นก็ไหลมาแทนที่ (กลายเป็น"กระแสนม") และวิ่งชนสี กลายเป็นลวดลายต่างๆ ตอนแรกลักษณะของสีก็เป็นหยดๆ ไม่มีการกระจายตัว เพราะว่านมมีแรงตึงผิวที่พยายามจะยึดผิวหน้าของน้ำนมไว้ (ซึ่งแรงตึงผิวนี้เป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของของเหลว) แต่เมื่อเราหยดน้ำยาล้างจานซึ่งมีสารลดแรงตึงผิว ผสมลงน้ำนม ทำให้สีสามารถกระจายตัวออกไปในน้ำนม
ประโยชน์ที่เด็กได้รับ                                                                                                  
            เด็กๆ ตื่นเต้นและอยากที่จะออกมาเป็นตัวแทนในการทำการทดลอง การที่เด็กได้ทดลองวิทยาศาสตร์เด็กจะมีความตื่นเต้นว่าจะเกิดอะไรขึ้นและสนุกสนานเพลิดเพลิน ทำให้เด็กเกิดปฎิสัมพันธ์ระหว่างครูและเพื่อน รู้จักการรอคอย กล้าแสดงออก เด็กมีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น

อ้างอิงจาก >>> ดูสีเต้นระบำ            

สื่อเข้ามุม : ไก่กระต๊าก

วัสดุ/อุปกรณ์    
    
                                                        1. แก้ว (อาจเป็นแก้วกระดาษหรือแก้วพลาสติก)
                                                        2. เชือกว่าวยาว 2 ฟุต
                                                        3. ฟองน้ำอเนกประสงค์ ขนาด 2 x 2 เซนติเมตร
                                                        4. เศษไม้ขนาด 2 เซนติเมตร
                                                                    ขั้นตอนการประดิษฐ์
1. เจาะรูตรงกลางก้นแก้วแล้วร้อยเชือกว่าว
2. ผูกปลายเชือกที่เศษไม้
3. ตกแต่งแก้วให้สวยงาม
วิธีการเล่น
            ชุบฟองน้ำพอหมาดๆ แล้วถูเชือกเป็นจังหวะเสียงไก่ขัน
 ...เป็นวิธีการง่ายๆ กับอุปกรณ์ซึ่งหาได้ไม่ยากสำหรับประดิษฐ์ของเล่นที่ให้ความรู้ฟิสิกส์แก่เด็กๆ ได้...
หลักการทางวิทยาศาสตร์                                                                                                                                                     ไก่กะต๊ากเป็นของเล่นที่ประดิษฐ์จากแก้วกระดาษและมีเชือกผูกกลางถ้วยสำหรับใช้ฟองน้ำถูให้เกิดเป็นเสียงไก่ขันที่ดังคล้ายเสียงไก่ร้อง กะต๊ากโดยเสียงที่เกิดขึ้นนั้นมาจากการสั่นสะเทือนของเชือกที่ถูกขัดถู ของเล่นชิ้นนี้อาจจะไม่เห็นบ่อยนัก แต่มีหลักการทำง่ายๆ ที่นำไปสอนเด็กๆ ในเรื่องการกำเนิดเสียงได้ ทั้งสนุก ทำง่าย มีวัสดุ - อุปกรณ์ ที่ไม่ยุ่งยากและราคาไม่แพง  
ข้อควรระวัง
             ความหนาของเชือกและวัสดุในการทำไก่กระต๊าก มีผลต่อระดับความดังเสียงของไก่กระต๊าก   

อ้างอิงจาก >>> ชวนทำ “ไก่กะต๊าก” ของเล่นเสียงดังจากแรงเสียดสี
   
(แก้ไข) สื่อเข้ามุม : ตัวกลางของแสง
วัสดุ/อุปกรณ์ 
                                                              1. ไม้ไอศกรีมแบบคละสี
                                                              2. กาว
                                                              3. ฝาขวด
                                                              4. ตุ๊กตา
                                                              5. กระดาษสีชนิดแข็ง
                                                              6. แผ่นพลาสติกใส, แผ่นพลาสติกฝ้า
                                                              7. แล็คซีน  
 ขั้นตอนการประดิษฐ์  
1. นำไม้ไอศกรีมมาต่อเป็นกล่องสี่เหลี่ยมขนาดพอดีโดยใช้กาวทา
2. นำฝาขวดมาติดเป็นฐานที่ด้านล่างของกล่องเพื่อเป็นขากล่อง
3. เมื่อกาวแห้ง กล่องไม้ไอศกรีมมีความแข็งแรงแล้วจึงนำตุ๊กตามาวางติดด้วยกาวภายในกล่อง
4. ตกแต่งกล่องไม้ไอศกรีมให้สวยงาม
5. นำกระดาษสีชนิดแข็ง แผ่นพลาสติกใสและแผ่นพลาสติกฝ้า มาตัดให้พอดี สามารถเสียบลงกล่องได้แล้วใช้แล็คซีนติดขอบเพพื่อความปลอดภัยขณะที่เด็กเล่น
6. ตกแต่งสื่อให้สวยงาม
หลักการทางวิทยาศาสตร์     
          แสงเดินทางเป็นเส้นตรงจากแหล่งกำเนิดแสงหรือแสงที่ตกกระทบวัตถุจะผ่านวัตถุบางชนิดได้ เรียกวัตถุที่แสงผ่านได้ว่า ตัวกลางของแสง นั่นเอง ซึ่งตัวกลางของแสงแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ดังนี้
ตัวกลางโปร่งใส คือ ตัวกลางที่ยอมให้แสงผ่านได้หมด จะทำให้มองเห็นวัตถุข้างหน้าได้ชัดเจน เช่น น้ำใส กระจกใส อากาศ แก้วน้ำใส เป็นต้น
ตัวกลางโปร่งแสง คือ ตัวกลางที่ยอมให้แสงผ่านได้บ้าง เช่น น้ำขุ่น กระดาษไข กระจกฝ้า แผ่นฟิล์มกรองแสง ผ้าขาวบาง เป็นต้น
ตัวกลางทึบแสง คือ ตัวกลางที่ไม่ยอมให้แสงผ่าน ถ้านำไปขวางทางเดินของแสงจะทำให้เกิดเงา เช่น ไม้ หนังสือ ตัวคน แผ่นเหล็ก เป็นต้น

Photobucket - Video and Image Hosting