เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
Miss Chalanda Khamjun Student ID 5411203044 Junior Field of Early Childhood Education Faculty of Education Chandrakasem Rajabhat University.

เรียนชดเชยครั้งที่ 2

วันที่ 29 กันยายน 2556

- สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายของการเรียนการสอนในรายวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ภาคเรียนที่ 1/2556
กิจกรรมในห้องเรียน
- อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละคนนำเสนอการทดลองเชิงวิทยาศาสตร์ ระหว่างการทดลองอาจารย์จะให้คำแนะนำ การปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้นักศึกษาได้ไปประยุกต์ใช้ในครั้งต่อไป ซึ่งการทดลองของดิฉัน คือ สีเต้นระบำ 
วิธีการสอน
- คุณครูวางวัสดุ/อุปกรณ์ บนโต๊ะให้เรียบร้อย โดยวางจากขวามือไปซ้ายมือ (เป็นการสอนเรื่องคณิตศาสตร์)                                                                                                                                                             - จากนั้นให้ถามเด็กๆ ว่า เด็กๆ เคยเห็นสิ่งของเหล่านี้ที่ไหนบ้างคะ (เด็กๆ ตอบ)                                         - จากนั้นถามเด็กๆ ว่า เด็กๆ คิดว่าสิ่งของเหล่านี้นำมาทำอะไรได้บ้างคะ (เด็กๆ ตอบ)                               - เด็กๆ ลองคิดดูซิว่าคุณครูจะนำมาทำอะไรเอ่ย (เด็กๆ ตอบ)                                                                       - เริ่มจากเทนมลงในจาน วางทิ้งไว้ให้น้ำนมนิ่งๆ
            - หยดสีผสมอาหารลงไปตรงกลางจาน สีละ 1-2 หยด (ให้เด็กๆ เข้ามามีส่วนร่วมด้วยการหยดสี)
            - ขั้นตอนสุดท้ายหยดน้ำยาล้างจานลงไปบนสีผสมอาหาร ไม่ต้องมากนะคะ ทีละ 1 หยด เด็กๆ สังเกตสิว่าจะเกิดอะไรขึ้น (เด็กๆ ตอบ)                                                                                                                   - เมื่อสีหยุดนิ่งแล้วถามเด็กๆ ว่า เด็กๆ คิดว่าเพราะเหตุใดสีถึงเคลื่อนที่ แล้วคุณครูยกตัวอย่างการเคลื่อนที่ของเรือในอ่างน้ำด้วยการดูวิดีโอเรื่องมหัศจรรย์ของน้ำ
                                               
หลักการทางวิทยาศาสตร์
       การทดลองเกี่ยวกับแรงตึงผิว น้ำยาล้างจานทำให้แรงตึงผิวลดลง นมที่อยู่ใกล้น้ำยาล้างจานจึงแตกกระจายและนมจากส่วนอื่นก็ไหลมาแทนที่และวิ่งชนสี กลายเป็นลวดลายต่างๆ ตอนแรกลักษณะของสีก็เป็นหยดๆ ไม่มีการกระจายตัวเพราะว่านมมีแรงตึงผิวที่พยายามจะยึดผิวหน้าของน้ำนมไว้ (ซึ่งแรงตึงผิวนี้เป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของของเหลว) แต่เมื่อเราหยดน้ำยาล้างจานซึ่งมีสารลดแรงตึงผิว ผสมลงน้ำนม ทำให้สีสามารถกระจายตัวออกไปในน้ำนม                           
คำแนะนำ ปรับปรุงแก้ไขจากอาจารย์ มีดังนี้
          "การทดลองโดยการใช้จานทำให้เด็กมองไม่เห็น ข้อแก้ไข คือ คุณครูต้องแจกอุปกรณ์ให้เด็กๆ ทำเป็นกลุ่ม และให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการออกไปทดลองหน้าชั้นด้วย ซึ่งก่อนที่เราจะสอนเรื่องแรงตึงผิวอาจจะให้เด็กได้ชมวิดีโอเรื่องมหัศจรรย์ของน้ำก่อน โดยยกตัวอย่างจากวิดีโอ เช่น การแล่นของเรือกระดาษในอ่างน้ำ และภาพวงกลมที่แสดงถึงความหนาแน่นของโมเลกุล ทำให้เด็กเข้าใจง่ายขึ้น เป็นการเปิดประสบการณ์เดิมของเด็กก่อนไปเชื่อมโยงกับประสบการณ์ใหม่ที่ทำการทดลองทำให้เด็กเข้าใจอย่างต่อเนื่องแล้วเกิดเป็นองค์ความรู้"
- อาจารย์ให้นักศึกษาส่งชิ้นงานที่เหลือ คือ ของเล่นเชิงวิทยาศาสตร์และของเล่นเข้ามุมเสริมประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์
- อาจารย์ให้นักศึกษาส่งงานที่ตกค้างทั้งหมดภายในวันสอบปลายภาคนี้ 
บรรยายกาศการเรียนการสอนในห้องเรียน

หมายเหตุ สอบปลายภาค ประจำภาคเรียนที่ 1/2556
                   ในวันจันทร์ ที่ 7 ตุลาคม 2556 เวลา 14:40 – 16:40 . ห้อง 361/1
Photobucket - Video and Image Hosting

สัปดาห์ที่ 16

วันที่ 25 กันยายน 2556

v  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ  เข้ามาบอกถึงรายละเอียดต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. การทำ Blog จะต้องมี   
- ภาษาที่สวยงามเป็นทางการ
- สรุปจากการอ่านงานวิจัยของตนเองคนละ 1 เรื่อง
- สรุปความรู้ที่ได้จากการดูโทรทัศน์ครู
- สรุปความรู้จากบทความ
2. วันเสาร์ที่ 28 กันยายน 2556 เรียนชดเชย ให้นักศึกษาเตรียมการทดลองวิทยาศาสตร์,สื่อเข้ามุมวิทยาศาสตร์,สื่อเสริมประสบการณ์วิทยาศาสตร์
3. ชี้แจงเอกสารประกอบการสอบปลายภาค : สอบวันที่ 7 ตุลาคม 2556
v  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น  เข้าสอนเวลา 09:20 . อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละคนสรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจากการเรียนการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เป็น Mind Mapping ดังนี้

สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับ
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ควรเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีประสบการณ์ตรง ได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยมีครูเป็นผู้ตอบสนองความสนในของเด็กและส่งเสริมการจัดโครงสร้างความคิดจากประสบการณ์ เพื่อพัฒนามุมมองและความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงการส่งเสริมทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลและมีความรับผิดชอบที่รักษาสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวอย่างเหมาะสมตามวัย 
      การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัยควรส่งเสริมด้านต่างๆ ดังนี้
1. สนับสนุนและส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก
2. สนับสนุนและส่งเสริมความต้องการในการตั้งคำถาม
3. ส่งเสริมการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ สำรวจ ตรวจสอบ จำแนกสิ่งต่างๆ
4. ส่งเสริมกระบวนการคิด
5. ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์
6. ส่งเสริมความสนใจในการดูแลและรับผิดชอบต่อสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว
7. เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความรู้สึกชื่นชมยินดีในธรรมชาติ 
Photobucket - Video and Image Hosting

สัปดาห์ที่ 15

วันที่ 18 กันยายน 2556

กิจกรรมในห้องเรียน
- อาจารย์ให้นักศึกษาปฏิบัติสาธิตการทำไข่ตุ๋นทรงเครื่อง ต่อจากการเรียนชดเชยในวันที่ 15 กันยายน 2556 ซึ่งเรียนถึงทฤษฏีการเขียนแผนวิธีการสอน แล้วนำเสนอในรูปแบบของ Mind Mapping ดังนั้นในวันนี้กลุ่มเรียนของเราจึงจัดการสอนวิธีการทำไข่ตุ๋นขึ้น (บทบาทสมมติ มีคุณครูผู้สอน และให้นักศึกษาเป็นนักเรียน) โดยมีเนื้อหาสาระดังนี้ 
องค์ความรู้ที่ได้รับ
ภาพ กิจกรรมการทำไข่ตุ๋นทรงเครื่องในห้องเรียน
อ้างอิงจาก : ไข่ตุ๋นทรงเครื่อง
Photobucket - Video and Image Hosting

เรียนชดเชยครั้งที่ 1

วันที่ 15 กันยายน 2556

- อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิ่น มาสอนแทน อาจารย์จินตนา   สุขสำราญ เริ่มตั้งแต่สัปดาห์นี้เป็นต้นไป

กิจกรรมให้ห้องเรียน
- อาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรมการเขียนแผนการทำอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย โดยแบ่งเป็นกลุ่มละ 7 คน     แล้วทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ 
แผ่นที่ 1 : Mind Mapping การสอนเด็กทำอาหาร
อาจารย์ให้คิดเมนูอาหารสำหรับเด็ก
แผ่นที่ 2 : Mind Mapping ไข่ตุ๋น
อาจารย์ให้เลือกเมนูอาหารมา 1 เมนู ที่สามารถสอนเด็กได้ ไม่ยากเกินไป กลุ่มของดิฉันเลือกไข่ตุ๋นทรงเครื่อง
แผ่นที่ 3 : Mind Mapping วิธีการทำไข่ตุ๋น
อาจารย์ให้ช่วยกันระดมความคิดวิธีการทำไข่ตุ๋มทรงเครื่องภายในกลุ่ม
แผ่นที่ 4 : เขียนแผนการสอนทำไข่ตุ๋น
อาจารย์ให้เขียนแผนการสอนแบบคร่าวๆ 
- เมื่อเขียนแผนเสร็จให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน 
          จากนั้นให้นักศึกษาแต่ละคนยกมือลงคะแนนเสียงว่าจะเลือกเมนูอะไรใน 4 เมนูที่เพื่อนนำเสนอมี แกงจืด-เต้าฮู้ ข้าวผัดอเมริกัน ไข่ตุ๋นและไข่เจียว โดยคะแนนเสียงส่วนมากเลือกการทำไข่ตุ๋นทรงเครื่อง (กลุ่มของดิฉัน) จากนั้นในวันพุธ ที่ 18 กันยายน 2556 ให้กลุ่มเจ้าของไข่ตุ๋นทรงเครื่องนำวัสดุ/อุปกรณ์ มาปฏิบัติจริง โดยมีนักศึกษาเป็นครู 1-2 คน และเพื่อนๆ ที่เหลือเป็นนักเรียน (บทบาทสมมติ)
Photobucket - Video and Image Hosting