เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
Miss Chalanda Khamjun Student ID 5411203044 Junior Field of Early Childhood Education Faculty of Education Chandrakasem Rajabhat University.

สัปดาห์ที่ 2

วันที่ 19 มิถุนายน 2556

- อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 6 คน ซึ่งดิฉันอยู่กลุ่มที่ 3 และมีหัวข้องาน 6 หัวข้อ ดังนี้
                        1) ความหมายของวิทยาศาสตร์
                        2) ความสำคัญของวิทยาศาสตร์
                        3) พัฒนาการทางสติปัญญา (กลุ่มดิฉันรับผิดชอบ)
                        4) การปรับตัวเข้าสู่ภาวะสมดุล
                        5) แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
                        6) กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
- งานที่อาจารย์มอบหมาย คือ ร่วมกันอภิปรายภายในกลุ่มของตัวเองทั้ง 5 หัวข้อ และอีก 1 หัวข้อเป็นของกลุ่มตัวเอง จากนั้นเขียนสรุปเป็นใจความสำคัญของกลุ่มตนเองเป็นงานชิ้นที่ 1 แล้วส่งตัวแทนในกลุ่มออกไปรับกระดานกับอาจารย์แล้วไปสอบถามถึงความคิดเห็นของกลุ่มอื่นๆ ในหัวข้อที่ 3 เรื่อง พัฒนาการทางสติปัญญาเป็นงานชิ้นที่ 2 และสุดท้ายงานชิ้นที่ 3 ให้เพื่อนๆ ในกลุ่มรวบรวมเนื้อหาที่กลุ่มอื่นๆ ได้เสนอมาสรุปเป็นเนื้อหาเดียวอาจจะทำเป็นตารางเปรียบเทียบ Mapping หรือวงกลมเปรียบเทียบก็ได้แล้วตัวแทนนำเสนอหน้าชั้นเรียน 


           
            
องค์ความรู้ที่ได้รับ
ความหมายของวิทยาศาสตร์ 
     พจนานุกรม 2545:744 ให้ความหมายว่า ความรู้ได้จากการสังเกต ค้นคว้า จากสิ่งแวดล้อมจากหลักฐานเหตุผลแล้วจัดเป็นระเบียบ ดร.อาเทอร์ เป็นความรู้ผ่านการทดสอบ สะสมไว้อย่างมีระบบ
            **สรุปวิทยาศาสตร์ คือ ความรู้ กระบวนการ ที่ใช้ในการค้นหาความรู้อย่างมีระบบ ** 
ความหมายของวิทยาศาสตร์ของดิฉัน 
     การศึกษาเรื่องสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติจากการค้นคว้าและการสังเกต  เพื่อนำมาปรับปรุงคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์ให้ดียิ่งขึ้น
ความสำคัญของวิทยาศาสตร์
     วิทยาศาสตร์มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างมาก  เพราะช่วยพัฒนาชีวิตของมนุษย์ให้มีความสะดวกสบายมากขึ้น  ทำให้สังคมโดลกมีความเจริญก้าวหน้าในอนาคต
     วิทยาศาสตร์ไม่เพียงแต่นำมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี  แต่ยังช่วยให้ความรู้  ความเข้าใจ  ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์  การดูแลรักษา  ตลอดจนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน
ความสำคัญของวิทยาศาสตร์ในความคิดของดิฉัน 
     ปัจจุบันวิทยาศาสตร์เข้ามามีบทบาทเกี่ยวกับชีวิตประจำวันของมนุษย์เรามากมายจนแยกไม่ออกตั้งแต่ตื่นกระทั่งเราหลับ ซึ่งทำให้มนุษย์เราเกิดความสะดวกสบาย เช่น การเดินทาง การสื่อสาร เป็นต้น
พัฒนาการทางสติปัญญา 
     ความเจริญงอกงามด้านความสามารถในการคิดของแต่ละบุคคลพัฒนาขึ้นมาจากการมีปฏิสัมพันธ์(interaction)กับสิ่งแวดล้อม  เริ่มตั้งแต่แรกเกิด  ผลของการปฏิสัมพันธ์จะทำให้เด็กรู้จักตนเอง  เพราะตอนแรกเด็กยังไม่สามารถแยกตนเองออกจากสิ่งแวดล้อมได้
          กระบวนการปฏิสัมพันธ์ มี 2 กระบวนการ  ดังนี้
                        1) กระบวนการดูดซึม มนุษย์ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมก็จะดูดซึมประสบการณ์ให้ให้รวมในโครงสร้างของสติปัญญา  โดยการตีความหรือการรับข้อมูลจากสิ่งแวดล้อม
                        2) กระบวนการปรับโครงสร้าง การปรับประสบการณ์ใหม่ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม
การปรับตัวเข้าสู่สภาวะสมดุลระหว่างอินทรีย์และสิ่งแวดล้อม 
     เมื่อได้รับประสบการณ์ใหม่ก็จะปรับให้สอดคล้องกับประสบการณ์เดิมแล้วเกิดเป็นพฤติกรรม
แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ 
     เกรก Graig กล่าวแนวคิดพื้นฐานไว้ 5 ประการใน "Graig 's Basic Concepts"  ดังนี้  
           1. เปลี่ยนแปลง    2. แตกต่าง    3. ปรับตัว    4. พึ่งพา    5. สมดุล
แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของกลุ่มดิฉัน 
     วิทยาศาสตร์มีการเปลี่ยนแปลงและแตกต่างกันสิ่งมีชีวิตต้องมีการปรับตัวพึ่งพาอาศัยกันเพื่อให้เกิดความสมดุล กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และผลผลิต กระบวนการวิทยาศาสตร์การค้นคว้าความรู้อย่างมีระบบ ผลผลิต สิ่งที่ได้หลังจากการทำการทดลอง เช่น การให้เด็กทำกิจกรรม (กระบวนการ) ดูผลงานเด็ก (ผลผลิต)
Photobucket - Video and Image Hosting

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น