เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
Miss Chalanda Khamjun Student ID 5411203044 Junior Field of Early Childhood Education Faculty of Education Chandrakasem Rajabhat University.

สัปดาห์ที่ 3

วันที่ 26 มิถุนายน 2556

- อาจารย์ให้นักศึกษาดู VDO เรื่องความลับของแสง
- สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับ
ความลับของแสง
            แสง คือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic wave) ประเภทหนึ่ง ซึ่งอยู่ในช่วงความยาวคลื่นที่สายตามนุษย์มองเห็นหรือบางครั้งอาจรวมถึงการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงความยาวคลื่นตั้งแต่รังสีอินฟราเรด (Infrared) ถึงรังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet) ด้วย
คุณสมบัติของแสง
  • การเดินทางเป็นเส้นตรง (Rectilinear propagation)                                                                                                    
  • การหักเห (Refraction)
  • การสะท้อน (Reflection)
  • การกระจาย (Dispersion)
จำแนกวัตถุตามการส่องผ่านของแสงได้ดังนี้
วัตถุโปร่งใส    คือ วัตถุที่ยอมให้แสงส่องทะลุผ่านได้โดยง่าย เช่น แก้วใส กระจกใส พลาสติกใส เป็นต้น
วัตถุโปร่งแสง คือ วัตถุที่ยอมให้แสงผ่านไปได้เพียงบางส่วน เช่น กระจกฝ้า พลาสติกขุ่น เป็นต้น
วัตถุทึบแสง     คือ วัตถุที่ไม่ยอมให้แสงผ่านไปได้เลย เช่น กำแพง ไม้กระดาน เป็นต้น
การสะท้อนของแสง
                เป็นปรากฏการณ์ที่แสงเดินทางจากตัวกลางที่มีความหนาแน่นค่าหนึ่งมายังตัวกลางที่มีค่าความหนาแน่นอีกตัวหนึ่ง ทำให้แสงตกกระทบกับตัวกลางใหม่ แล้วสะท้อนกลับสู่ตัวเดิม เช่น การสะท้อนของแสงจากอากาศกับผิวหน้าของกระจกเงาจะเกิดการสะท้อนแสงที่ผิวหน้าของกระจกเงาราบแล้วกลับสู่อากาศดังเดิม เมื่อแสงตกกระทบกับผิวหน้าของตัวกลางใดๆ ปริมาณและทิศทางของการสะท้อนของแสง จะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของพื้นผิวหน้าของตัวกลางที่ตกกระทบ จากรูป เมื่อลำแสงขนานตกกระทบพื้นผิวหน้าวัตถุที่เรียบ แสงจะสะท้อนเป็นลำแสงขนานเหมือนกับลำแสงที่ตกกระทบ การสะท้อนบนพื้นผิวหน้าที่เรียบ โดยเรียกว่า การสะท้อนแบบสม่ำเสมอ
กฎการสะท้อนของแสง (The Laws of Reflection) มี 2 ข้อ ดังนี้
  • รังสีตกกระทบ รังสีสะท้อน และเส้นปกติจะอยู่ในระนาบเดียวกัน
  • มุมตกกระทบเท่ากับมุมสะท้อน
การหักเหของแสง
                เมื่อแสงเดินทางผ่านวัตถุหรือตัวกลางโปร่งใส เช่น อากาศ แก้ว น้ำ พลาสติกใส แสงจะสามารถเดินทางผ่านได้เกือบหมด เมื่อแสงเดินทางผ่านตัวกลางชนิดเดียวกัน แสงจะเดินทางเป็นเส้นตรงเสมอ แต่ถ้าแสงเดินทางผ่านตัวกลางหลายตัวกลาง แสงจะหักเห
                การหักเหของแสงทำให้เรามองเห็นภาพของวัตถุอันหนึ่งที่จมอยู่ในก้นสระว่ายน้ำอยู่ตื้นกว่าความเป็นจริง ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า แสงจากก้นสระว่ายน้ำจะหักเหเมื่อเดินทางจากน้ำสู่อากาศ ทั้งนี้เพราะความเร็วของแสงที่เดินทางในอากาศเร็วกว่าเดินทางในน้ำ จึงทำให้เห็นภาพของวัตถุอยู่ตื้นกว่าความเป็นจริง
สิ่งควรทราบเกี่ยวกับการหักเหของแสง
      -  ความถี่ของแสงยังคงเท่าเดิม ส่วนความยาวคลื่น และความเร็วของแสงจะไม่เท่าเดิม
      -  ทิศทางการเคลื่อนที่ของแสง
              จะอยู่ในแนวเดิมถ้าแสงตกตั้งฉากกับผิวรอยต่อของตัวกลาง
              จะไม่อยู่ในแนวเดิมถ้าแสงไม่ตกตั้งฉากกับผิวรอยต่อของตัวกลาง
สาเหตุที่ทำให้แสงเกิดการหักเห
          เกิดจากการเดินทางของแสงจากตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลาง หนึ่งซึ่งมีความหนาแน่นแตกต่างกัน จะมีความเร็วไม่เท่ากันด้วย โดยแสงจะเคลื่อนที่ในตัวกลางโปร่งกว่าได้เร็วกว่าตัวกลางที่ทึบกว่า เช่น ความเร็วของแสงในอากาศมากกว่าความเร็วของแสงในน้ำ และความเร็วของแสงในน้ำมากกว่าความเร็วของแสงในแก้วหรือพลาสติก  การที่แสงเคลื่อนที่ผ่านอากาศและแก้วไม่เป็นแนวเส้นตรง เดียวกันเพราะเกิดการหักเหของแสง โดยแสงจะเดินทางจากตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า (โปร่งกว่า) ไปยังตัวกลางที่มีความหนาแน่นมากกว่า (ทึบกว่า) แสงจะหักเหเข้าหาเส้นปกติ ในทางตรงข้าม ถ้าแสงเดินทางจากยังตัวกลางที่มีความหนาแน่นมากกว่า ไปยังตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า แสงจะหักเหออกจากเส้นปกติ
           รุ้งกินน้ำ (Rainbow) เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มักเกิดตอนหลังฝนตกใหม่ ยิ่งเฉพาะมีแดดออกด้วย ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดจากแสงแดดจากดวงอาทิตย์ที่ส่องลงมากระทบกับหยด น้ำฝนหรือละอองน้ำ แล้วจะเกิดการหักเหและการสะท้อนกลับหมดของแสงทำให้เกิดเป็นแถบสีบนท้องฟ้า โดยการหักเหของแสงในหยดน้ำนั้นจะแยกสเปกตรัมของแสงขาวจากแสงแดดออกเป็นแถบสี ต่างๆalt
รุ้งกินน้ำ มี 7 สี ได้แก่ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง
                                                                             
                สรุป คุณสมบัติ ต่าง ๆ ของแสงแต่ละคุณสมบัตินั้น เราสามารถนำหลักการมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น คุณสมบัติของการสะท้อนแสงของวัตถุ เรานำมาใช้ในการออกแบบแผ่นสะท้อนแสงของโคมไฟ การหักเหของแสงนำ มาออกแบบแผ่นปิดหน้าโคมไฟ ซึ่งเป็นกระจก หรือพลาสติกเพื่อบังคับทิศทางของแสงไฟ ที่ออกจากโคมไปในทิศที่ต้องการ การกระจายตัวของลำแสงเมื่อกระทบตัวกลางเรานำมาใช้ประโยชน์ เช่น ใช้แผ่นพลาสติกใสปิดดวงโคมเพื่อลดความจ้าจากหลอดไฟต่างๆ การดูดกลืนแสง เรานำมาทำเตาอบพลังงานแสงอาทิตย์เครื่องต้มพลังงานแสง และการแทรกสอดของแสง นำมาใช้ประโยชน์ในกล้องถ่ายรูป  เครื่องฉายภาพต่าง ๆ จะเห็นว่าคุณสมบัติแสงดังกล่าวก็ได้นำมาใช้ในชีวิตประจำวันของมนุษย์เราทั้งนั้น

- อาจารย์ทบทวนเนื้อหาต่อจากสัปดาห์ที่ 2  ออกมาเป็น Mind Mapping
อ้างอิงจาก : แสงและการมองเห็น
Photobucket - Video and Image Hosting

สัปดาห์ที่ 2

วันที่ 19 มิถุนายน 2556

- อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 6 คน ซึ่งดิฉันอยู่กลุ่มที่ 3 และมีหัวข้องาน 6 หัวข้อ ดังนี้
                        1) ความหมายของวิทยาศาสตร์
                        2) ความสำคัญของวิทยาศาสตร์
                        3) พัฒนาการทางสติปัญญา (กลุ่มดิฉันรับผิดชอบ)
                        4) การปรับตัวเข้าสู่ภาวะสมดุล
                        5) แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
                        6) กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
- งานที่อาจารย์มอบหมาย คือ ร่วมกันอภิปรายภายในกลุ่มของตัวเองทั้ง 5 หัวข้อ และอีก 1 หัวข้อเป็นของกลุ่มตัวเอง จากนั้นเขียนสรุปเป็นใจความสำคัญของกลุ่มตนเองเป็นงานชิ้นที่ 1 แล้วส่งตัวแทนในกลุ่มออกไปรับกระดานกับอาจารย์แล้วไปสอบถามถึงความคิดเห็นของกลุ่มอื่นๆ ในหัวข้อที่ 3 เรื่อง พัฒนาการทางสติปัญญาเป็นงานชิ้นที่ 2 และสุดท้ายงานชิ้นที่ 3 ให้เพื่อนๆ ในกลุ่มรวบรวมเนื้อหาที่กลุ่มอื่นๆ ได้เสนอมาสรุปเป็นเนื้อหาเดียวอาจจะทำเป็นตารางเปรียบเทียบ Mapping หรือวงกลมเปรียบเทียบก็ได้แล้วตัวแทนนำเสนอหน้าชั้นเรียน 


           
            
องค์ความรู้ที่ได้รับ
ความหมายของวิทยาศาสตร์ 
     พจนานุกรม 2545:744 ให้ความหมายว่า ความรู้ได้จากการสังเกต ค้นคว้า จากสิ่งแวดล้อมจากหลักฐานเหตุผลแล้วจัดเป็นระเบียบ ดร.อาเทอร์ เป็นความรู้ผ่านการทดสอบ สะสมไว้อย่างมีระบบ
            **สรุปวิทยาศาสตร์ คือ ความรู้ กระบวนการ ที่ใช้ในการค้นหาความรู้อย่างมีระบบ ** 
ความหมายของวิทยาศาสตร์ของดิฉัน 
     การศึกษาเรื่องสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติจากการค้นคว้าและการสังเกต  เพื่อนำมาปรับปรุงคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์ให้ดียิ่งขึ้น
ความสำคัญของวิทยาศาสตร์
     วิทยาศาสตร์มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างมาก  เพราะช่วยพัฒนาชีวิตของมนุษย์ให้มีความสะดวกสบายมากขึ้น  ทำให้สังคมโดลกมีความเจริญก้าวหน้าในอนาคต
     วิทยาศาสตร์ไม่เพียงแต่นำมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี  แต่ยังช่วยให้ความรู้  ความเข้าใจ  ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์  การดูแลรักษา  ตลอดจนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน
ความสำคัญของวิทยาศาสตร์ในความคิดของดิฉัน 
     ปัจจุบันวิทยาศาสตร์เข้ามามีบทบาทเกี่ยวกับชีวิตประจำวันของมนุษย์เรามากมายจนแยกไม่ออกตั้งแต่ตื่นกระทั่งเราหลับ ซึ่งทำให้มนุษย์เราเกิดความสะดวกสบาย เช่น การเดินทาง การสื่อสาร เป็นต้น
พัฒนาการทางสติปัญญา 
     ความเจริญงอกงามด้านความสามารถในการคิดของแต่ละบุคคลพัฒนาขึ้นมาจากการมีปฏิสัมพันธ์(interaction)กับสิ่งแวดล้อม  เริ่มตั้งแต่แรกเกิด  ผลของการปฏิสัมพันธ์จะทำให้เด็กรู้จักตนเอง  เพราะตอนแรกเด็กยังไม่สามารถแยกตนเองออกจากสิ่งแวดล้อมได้
          กระบวนการปฏิสัมพันธ์ มี 2 กระบวนการ  ดังนี้
                        1) กระบวนการดูดซึม มนุษย์ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมก็จะดูดซึมประสบการณ์ให้ให้รวมในโครงสร้างของสติปัญญา  โดยการตีความหรือการรับข้อมูลจากสิ่งแวดล้อม
                        2) กระบวนการปรับโครงสร้าง การปรับประสบการณ์ใหม่ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม
การปรับตัวเข้าสู่สภาวะสมดุลระหว่างอินทรีย์และสิ่งแวดล้อม 
     เมื่อได้รับประสบการณ์ใหม่ก็จะปรับให้สอดคล้องกับประสบการณ์เดิมแล้วเกิดเป็นพฤติกรรม
แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ 
     เกรก Graig กล่าวแนวคิดพื้นฐานไว้ 5 ประการใน "Graig 's Basic Concepts"  ดังนี้  
           1. เปลี่ยนแปลง    2. แตกต่าง    3. ปรับตัว    4. พึ่งพา    5. สมดุล
แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของกลุ่มดิฉัน 
     วิทยาศาสตร์มีการเปลี่ยนแปลงและแตกต่างกันสิ่งมีชีวิตต้องมีการปรับตัวพึ่งพาอาศัยกันเพื่อให้เกิดความสมดุล กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และผลผลิต กระบวนการวิทยาศาสตร์การค้นคว้าความรู้อย่างมีระบบ ผลผลิต สิ่งที่ได้หลังจากการทำการทดลอง เช่น การให้เด็กทำกิจกรรม (กระบวนการ) ดูผลงานเด็ก (ผลผลิต)
Photobucket - Video and Image Hosting

สัปดาห์ที่ 1

วันที่ 12 มิถุนายน 2556

- อาจารย์ชี้แจงแนวปฏิบัติตามแนวการสอนและการจัดประสบการณ์
- อาจารย์และนักศึกษาร่วมกันอภิปรายและแสดงความคิดเห็นต่อแนวทาง ในการปฏิบัติตามแนวการสอนตลอดจนข้อสงสัยต่างๆ
- อาจารย์อธิบายเรื่องการสร้างบล็อกเพื่อเป็นแฟ้มสะสมงานอิเลคทรอนิคส์เพื่อการประเมินในรายวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยมีองค์ประกอบของบล็อก ดังนี้
            - ชื่อและคำอธิบายบล็อก
            - รูปและข้อมูลของผู้เรียน
            - ปฏิทินและนาฬิกา
            - เชื่อมโยงบล็อกของอาจารย์ผู้สอน, หน่วยงานสนับสนุน, แนวการสอน, งานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์, บทความ, สื่อ (เพลง, เกม, นิทาน, แบบฝึกหัด, ของเล่น)
- อาจารย์ชี้แจงแนวทางการเขียนอนุทินเพื่อให้นักศึกษาบันทึกหลังการเรียน
องค์ความรู้ที่ได้รับ
Photobucket - Video and Image Hosting